Page 10 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                         2


                   ลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-12 % การระบายน้้าดี การไหล่บ่าของน้้าบนผิวดิน
                   เร็ว การซึมผ่านได้ของน้้าเร็ว เป็นดินตื้นปนกรวดลูกรังมาก มีการระบายน้้าดี เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดิน
                   เหนียว สีน้้าตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5  ส่วนดินล่างมีเนื้อดิน

                   เป็นดินร่วนเหนียวปนกรวดลูกรังถึงดินเหนียวปนกรวดลูกรังมาก พบชั้นลูกรังปริมาณมากกว่า 35
                   เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ภายใน 50 เซนติเมตรจากผิวดิน สีพื้นเป็นสีน้้าตาลปนเหลือง สีน้้าตาลแก่ และสี
                   แดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0  –5.5  มี
                   ความอุดมสมบูรณ์ต่้าตามธรรมชาติ ซึ่งสภาพปัญหาหรือข้อจ้ากัดของชุดดินคลองซากคือ ปัญหาดินตื้นจะ

                   จ้ากัดชนิดพืชที่ปลูกเนื่องจากมีชิ้นส่วนเนื้อหยาบปริมาณมากในระดับตื้น และพบกระจัดกระจายอยู่บนผิว
                   ดินมาก ท้าให้เป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืชลงไปหาธาตุอาหารและน้้า ดินมีความสามารถในการ
                   อุ้มน้้าและดูดซับธาตุอาหารต่้า ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่้า ขาดแคลนน้้าและแหล่งน้้าชลประทาน ใน

                   พื้นที่ลาดชัน ดินง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดินและสูญเสียสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
                          เนื่องจากปัจจุบันราคายางพาราตกต่้า จากการที่มีปริมาณผลผลิตสินค้าล้นตลาด รัฐบาลจึงได้มี
                   แนวทางการด้าเนินงานในการขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) เพื่อ
                   ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรตามความเหมาะสมของพื้นที่ ท้าให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์
                   และอุปทาน โดยส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกพืช (S1,  S2) ให้มี

                   ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ส่วนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมในการปลูก (S3, N) นั้น
                   ให้ปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าเกษตรเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น หรือท้าการเกษตรแบบผสมผสานแทน และ
                   จากการทราบถึงข้อจ้ากัดของชุดดินคลองซาก ซึ่งเป็นชุดดินที่พบในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2)

                   ในการปลูกยางพารา และมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในจังหวัดตราดนั้น จึงได้ท้าการทดสอบหาแนวทางในการ
                   ปรับปรุงดิน เพื่อแก้ไขปัญหาของดินตามข้อจ้ากัดที่พบ ซึ่งข้อจ้ากัดของชุดดินคลองซากคือ เป็นดินตื้น มี
                   ความอุดมสมบูรณ์ต่้า ดังนั้นแนวทางในการปรับปรุงดินที่เหมาะสมคือ การเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ เพื่อให้
                   ดินสามารถเก็บความชื้นและดูดซับธาตุอาหารได้ดีขึ้น และการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เป็นการใส่ปุ๋ยใน

                   ปริมาณที่เหมาะสมตรงกับความต้องการของพืช ลดต้นทุนจากการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่มากเกินความจ้าเป็น
                   โดยได้ท้าการทดสอบการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ในอัตราที่เหมาะสม
                   และให้ตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงที่สุด ในพื้นแปลงยางพารา บ้านหินโคร่ง หมู่ที่ 6 ต้าบลหนองโสน อ้าเภอ
                   เมือง จังหวัดตราด ซึ่งเป็นตัวแทนของแปลงยางพาราที่ปลูกบนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2)

                   เพื่อให้ทราบข้อมูลที่จะใช้เป็นแนวทางในการให้ค้าแนะน้าการลดต้นทุนการผลิตยางพาราบนพื้นที่ S2 ของ
                   จังหวัดตราดแก่เกษตรกรต่อไป


                   1.2 วัตถุประสงค์
                          1. เพื่อวิเคราะห์และประเมินเขตพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) ในการปลูกยางพารา ในพื้นที่ต้าบล

                   หนองโสน อ้าเภอเมือง จังหวัดตราด (Zoning by Agri-Map)
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15