Page 29 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        19


                          ทรัพยากรดินในแปลงด าเนินการ พบว่าเป็นกลุ่มชุดดินที่ 45C ชุดดินคลองชาก (Kc) การจ าแนก
                   ดินจัดอยู่ใน clayey-skeletal,  kaolinitic,  isohyperthermic  Typic  Kandihumults  เกิดจากวัตถุ
                   ตกค้างและเศษหินเชิงเขาของหินดินดาน สภาพพื้นที่มีลักษณะค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 5-12 %

                   เป็นดินตื้นปนกรวดลูกรังมาก มีการระบายน้ าดี เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ าตาล ปฏิกิริยาดิน
                   เป็นกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5 ส่วนดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนกรวดลูกรัง
                   ถึงดินเหนียวปนกรวดลูกรังมาก พบชั้นลูกรังปริมาณมากกว่า 35  เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ภายใน 50
                   เซนติเมตรจากผิวดิน สีพื้นเป็นสีน้ าตาลปนเหลือง สีน้ าตาลแก่ และสีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรด

                   จัดมากถึงกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0–5.5
                          ในพื้นที่ต าบลหนองโสนกลุ่มชุดดินที่พบมากที่สุดคือ กลุ่มชุดดินที่ 45 โดยกลุ่มชุดดินที่ 45 นั้น ยัง
                   แบ่งลักษณะตามความลาดชัน (B, C, D) และระบบชลประทาน (I) ได้ดังนี้คือ (ภาพที่ 5)

                          45I    กลุ่มชุดดินที่ 45 มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ และมีระบบชลประทาน เนื้อที่ 16 ไร่
                          45B   กลุ่มชุดดินที่ 45 มีความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์ เนื้อที่ 427 ไร่
                          45BI  กลุ่มชุดดินที่ 45 มีความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์ และมีระบบชลประทาน เนื้อที่ 35 ไร่
                          45C   กลุ่มชุดดินที่ 45 มีความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์ เนื้อที่ 4,874 ไร่
                          45CI  กลุ่มชุดดินที่ 45 มีความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์ และมีระบบชลประทาน เนื้อที่ 423 ไร่

                          45D   กลุ่มชุดดินที่ 45 มีความลาดชัน 12-20 เปอร์เซ็นต์ เนื้อที่ 1,584 ไร่
                          จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า ในต าบลหนองโสนกลุ่มชุดดินที่ 45 มีความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์
                   หรือกลุ่มชุดดินที่ 45C  มีพื้นที่มากที่สุด เนื้อที่ 4,874  ไร่ หรือร้อยละ 15.67 ของพื้นที่ต าบล และจาก

                   ตารางที่ 10 พบว่ากลุ่มชุดดินที่ 45C ในต าบลหนองโสนคือชุดดินคลองซากทั้งหมด และเป็นพื้นที่ที่มีความ
                   เหมาะสมปานกลาง (S2) ในการปลูกยางพารา (ภาพที่ 5, 6 และ 9) ดังนั้นในการท าการทดสอบจึงเลือก
                   แปลงยางพาราที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในต าบลหนองโสน คือกลุ่มชุดดินที่ 45C ชุด
                   ดินคลองซาก เพื่อหาแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2)

                   ต่อไป
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34