Page 34 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        22


                   2.5 การใช้ประโยชน์ที่ดิน
                           จากข้อมูลผลการส ารวจการใช้ประโยชน์ที่ดินจังหวัดตราด ปึ 2561  โดยกลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้

                   ที่ดินที่ 1 กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ตามตารางที่ 4, 5 และภาพที่ 7 เมื่อน ามาวิเคราะห์
                   พบว่า ต าบลหนองโสนมีการใช้ประโยชน์ที่ดินทางด้านการเกษตรประมาณ 18,523 ไร่ (ร้อยละ 58.67 ของเนื้อที่

                   ต าบล) โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกยางพารา ประมาณ 11,148 ไร่ (ร้อยละ 35.83 ของเนื้อที่ต าบล) รองลงมา คือ
                   นาข้าว โดยมีพื้นที่ปลูก 2,237 ไร่ (ร้อยละ 7.19 ของเนื้อที่ต าบล) และสับปะรด/ยางพารา มีพื้นที่ปลูก 1,064 ไร่

                   (ร้อยละ 3.42 ของเนื้อที่ต าบล) ตามล าดับ พื้นที่ที่เหลือเป็นพื้นที่ปลูกพืชอื่นๆ พื้นที่ปุาไม้ ที่อยู่อาศัยสถานที่
                   ราชการและสถาบันต่างๆ สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ า พื้นที่น้ า และพื้นที่เบ็ดเตล็ด
                          การใช้ประโยชน์ที่ดินในต าบลหนองโสน ส่วนมากใช้ที่ดินด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก พืชที่มี

                   การปลูกมากที่สุดคือยางพารา เพราะมีความเหมาะสมทั้งสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศสภาพ
                   พื้นที่ที่เป็นพื้นที่ดอน มีความลาดชัน ตั้งแต่ 0-12 เปอร์เซ็นต์ ฝนตกชุกตลอดทั้งปี อาศัยแหล่งน้ าจาก

                   น้ าฝนเป็นหลัก ดินมีการระบายน้ าดี การถ่ายเทอากาศระหว่างพื้นที่เหนือผิวดินกับภายในผิวดินดี ซึ่ง
                   จังหวัดตราดถือเป็นพื้นที่ปลูกยางเดิมที่ส าคัญของภาคตะวันออก มีพื้นที่ปลูกมาก การใช้ประโยชน์ที่ดิน

                   รองลงมาในต าบลหนองโสนคือ การปลูกข้าว เพราะพื้นที่ทางตอนล่างของต าบลมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม
                   ชายฝั่งทะเล ดินบนเป็นดินเหนียวลึกมาก มีความเป็นกรดจัด มีการระบายน้ าค่อนข้างเลวถึงเลว ดังนั้น

                   พืชที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์มากที่สุดคือข้าว เพราะมีระบบรากสั้น สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพ
                   น้ าขังเป็นระยะเวลายาวนาน ต้องการดินที่มีการระบายน้ าเลว และในสภาพน้ าขังนี้ ยังเป็นการรักษาระดับ
                   ความชื้นในดิน ช่วยควบคุมความเป็นกรดไว้ ไม่ให้สารประกอบไพไรต์ท าปฏิกิริยากับอากาศหรือออกซิเจน

                   แล้วปลดปล่อยกรดก ามะถันออกมา พื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลนี้ ถ้าท าการยกร่องเพื่อปรับเปลี่ยนจากข้าว
                   เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น เกษตรกรจะต้องลงทุนสูงและใช้ระยะเวลานานในการปรับปรุงคุณภาพดิน เพื่อ

                   แก้ปัญหาดินเปรี้ยวท าให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ  การใช้ประโยชน์ที่ดินในอันดับถัดมาคือการ
                   ปลูกไม้ผลผสมบนพื้นที่กลุ่มชุดดินซึ่งเป็นดินดอน และมีแหล่งน้ าทางการเกษตรเพียงพอตลอดทั้งปี

                   เพราะไม้ผลต้องการน้ าในปริมาณที่เพียงพอในการติดดอก ออกผล และพัฒนาคุณภาพผลผลิต ไม้ผลที่
                   ปลูกได้แก่ เงาะ มังคุด ลองกอง ทุเรียน เป็นหลัก

                   ตารางที่ 4 แสดงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินของต าบลหนองโสน  อ าเภอเมือง  จังหวัดตราด

                                        ประเภท                         ชนิดพืช

                                  การใช้ประโยชน์ที่ดินหลัก            ยางพารา
                                                                         ข้าว

                                การใช้ประโยชน์ที่ดินทางเลือก          ไม้ผลผสม
                                                                     ปาล์มน้ ามัน

                   ที่มา : กลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 (2561)
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39