Page 36 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        27


                   การใช้ปูนโดโลไมท์เป็นสิ่งส าคัญ จึงควรถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรเห็นถึงความส าคัญในการปฏิบัติเรื่อง

                   การตรวจวิเคราะห์ดินก่อนการใช้ปูนโดโลไมท์ให้มีการปฏิบัติให้มากขึ้น

                   ตอนที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพเศรษฐกิจ สังคม กับความรู้และ
                           การปฏิบัติ ในการใช้ปูนโดโลไมท์ปรับปรุงดินกรด


                          การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple  Regression)  เพื่อหาความสัมพันธ์

                   ระหว่างตัวแปรตามกับตัวแปรอิสระหลายตัวว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางใดและมีระดับความสัมพันธ์กับตัว
                   แปรตามมากน้อยเพียงใด การวิเคราะห์ครั้งนี้ใช้ตัวแปรตามและตัวแปรอิสระดังนี้

                          ตัวแปรอิสระทั้งหมด 8 ตัวแปร ได้แก่ 1. เพศ 2.อายุ  3.ระดับการศึกษา  4.รายได้ทั้งหมดของ
                   ครัวเรือน 5.ขนาดพื้นที่ท าการเกษตร 6.ประสบการณ์ในการใช้ปูนโดโลไมท์ 7.การได้รับค าปรึกษาแนะน า
                   จากเจ้าหน้าที่ และ 8.การได้รับการฝึกอบรม

                          ตัวแปรตาม คือ ความรู้ในการปรับปรุงดินกรดของหมอดินอาสาโดยใช้ข้อมูลจากตารางที่ 8
                   และการปฏิบัติในการปรับปรุงบ ารุงดินของหมอดินอาสา โดยใช้ข้อมูลจากตารางที่ 11

                          ผลการวิเคราะห์เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวแปรที่น าเข้าสมการ พบว่า หมอดินอาสามีอายุเฉลี่ย 48.47 ปี
                   มีระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  (ค่าเฉลี่ย 12.13  ปี) หมอดินอาสามีรายได้ในครัวเรือน
                   เฉลี่ย 97,104.51บาทต่อปี มีพื้นที่ท าการเกษตรเฉลี่ย 13.68 ไร่ มีประสบการณ์ในการใช้ปูนโดโลไมท์

                   เฉลี่ย 5.21 ปี มีการได้รับค าแนะน าจากเจ้าหน้าที่เฉลี่ย 1.31  ครั้งต่อปี และมีการได้รับการฝึกอบรม
                   เฉลี่ย 1.36 ครั้ง รายละเอียดดังปรากฏ (ตามตารางที่ 8)

                   ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ความรู้ (Y )
                                                                                            1

                                          ตัวแปร                        ค่าเฉลี่ย   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                     ตัวแปรอิสระ

                     1. เพศ                                                -                -
                     2. อายุของกลุ่มตัวอย่าง (ปี)                        48.47            10.160
                     3. ระดับการศึกษา (ปี)                               12.13            5.212
                     4. รายได้ทั้งหมดของครัวเรือน(บาท)                 97,104.51          88.498

                     5. ขนาดพื้นที่ท าการเกษตร (ไร่)                     13.68            10.797
                     6. ประสบการณ์การใช้ปูนโดโลไมท์ (ปี)                 5.21             3.265
                     7. การได้รับค าแนะน าจากเจ้าหน้าที่ (ครั้ง)         1.31             0.844
                     8. การได้รับการฝึกอบรม  (ครั้ง)                     1.36             0.838

                     ตัวแปรตาม
                     ความรู้ในการปรับปรุงบ ารุงดินของเกษตรกร             14.36            1.392


                          เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระแต่ละคู่ พบว่าไม่มีตัวแปรอิสระคู่ใดที่มีความสัมพันธ์
                   กันสูงกว่า 0.80 ที่จะก่อให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระด้วยกันเอง (Multicollinearity)
                   อันเป็นการละเมิดข้อสมมติฐานที่ก ากับเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ รายละเอียดปรากฏ
                   ตามตารางที่ 9 โดยผู้วิจัยได้ก าหนดสัญลักษณ์ที่ใช้กับตัวแปรต่าง ๆ ดังสมการต่อไปนี้
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41