Page 30 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        21


                   ตอนที่ 3 การปฏิบัติของหมอดินอาสาในการใช้ปูนโดโลไมท์ปรับปรุงดินกรด

                          จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องการปฏิบัติในการใช้โดโลไมท์ปรับปรุงดินกรด ผู้วิจัยได้วัดโดยการ
                   ให้คะแนนซึ่งมีเกณฑ์ปฏิบัติดังนี้

                          ค่าคะแนน  0.00 – 0.67 คะแนน   หมายถึง       ไม่ปฏิบัติเลย
                          ค่าคะแนน  0.68 – 1.33 คะแนน   หมายถึง       ปฏิบัติบางครั้ง

                          ค่าคะแนน  1.34 – 2.00 คะแนน   หมายถึง       ปฏิบัติเป็นประจ า

                          ภาพรวมการปฏิบัติในการใช้โดโลไมท์ปรับปรุงดินกรดมีการปฏิบัติบางครั้ง (ค่าเฉลี่ย 1.11)
                   สรุปในประเด็นต่าง ๆ ได้ดังนี้

                          หมอดินอาสาส่วนใหญ่มีการปฏิบัติในหัวข้อการเก็บรักษาปูนโดโลไมท์เพื่อรอเวลาที่เหมาะสมใน
                   การน าไปใช้ควรเก็บรักษาไว้ในโรงเรือนที่มีหลังคาหรือวัสดุคลุมเสมอเพื่อป้องกันความชื้นและแสงแดด

                   และท าให้ปูนมีคุณภาพที่ดีก่อนการน าไปใช้ด าเนินการ จากการศึกษาพบว่าหมอดินอาสามีการปฏิบัติเป็น

                   ประจ า (ค่าเฉลี่ย 1.34) โดยหมอดินอาสาเลือกตอบแบบสอบถามในหัวข้อการปฏิบัติเป็นประจ า
                   คิดเป็นร้อยละ 51.50 ปฏิบัติเป็นบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 28.40 และไม่ปฏิบัติเลย คิดเป็นร้อยละ 20.10

                          รองลงมาหมอดินอาสามีการปฏิบัติในหัวข้อแปลงปลูกพืชผักสวนครัวต้องท าการเตรียมแปลงก่อน
                   แล้วจึงใส่ปูนโดโลไมท์ลงไปในแปลงผักและสับกลบลงไปในดินก่อนการปลูกพืชผักสวนครัว จากการศึกษา

                   พบว่าหมอดินอาสามีการปฏิบัติบางครั้ง (ค่าเฉลี่ย 1.25) โดยหมอดินอาสาเลือกตอบแบบสอบถามใน

                   หัวข้อปฏิบัติเป็นประจ า คิดเป็นร้อยละ 32.80 ปฏิบัติเป็นบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 39.70 และไม่ปฏิบัติเลย
                   คิดเป็นร้อยละ 27.50

                          หมอดินอาสามีการปฏิบัติในหัวข้อวิธีใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อแก้ความเป็นกรดของดินจะใช้ร่วมกับ
                   ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ร่วมด้วยเสมอ เพื่อเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน  จากการศึกษาพบว่า

                   หมอดินอาสามีการปฏิบัติบางครั้ง (ค่าเฉลี่ย 1.24) โดยหมอดินอาสาเลือกตอบแบบสอบถามในหัวข้อการ

                   ปฏิบัติเป็นประจ า คิดเป็นร้อยละ 42.60  ปฏิบัติเป็นบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 38.70  และไม่ปฏิบัติเลย
                   คิดเป็นร้อยละ 18.70

                          หมอดินอาสามีการปฏิบัติในหัวข้อเมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้ปูนโดโลไมท์จะปรึกษา
                   เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน หมอดินอาสา หรือสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์กรมพัฒนาที่ดินก่อนการใช้ปูนเสมอ

                   จากการศึกษาพบว่าหมอดินอาสามีการปฏิบัติบางครั้ง (ค่าเฉลี่ย 1.20) โดยหมอดินอาสาเลือกตอบ

                   แบบสอบถามในหัวข้อการปฏิบัติเป็นประจ า คิดเป็นร้อยละ 38.70 ปฏิบัติเป็นบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ
                   42.20 และไม่ปฏิบัติเลย คิดเป็นร้อยละ 19.10

                          หมอดินอาสามีการปฏิบัติในหัวข้อการใช้ปูนโดโลไมท์ในพื้นที่ท านาข้าวจะใช้ในระยะก่อนเตรียม
                   แปลงปลูกข้าว โดยไถคลุกเคล้าดินหมักไว้อย่างน้อย 7 วัน จากการศึกษาพบว่าหมอดินอาสามีการปฏิบัติ

                   บางครั้ง (ค่าเฉลี่ย 1.20)  โดยหมอดินอาสาเลือกตอบแบบสอบถามในหัวข้อหมอดินอาสามีการปฏิบัติ

                   เป็นประจ า คิดเป็นร้อยละ 40.20  ปฏิบัติเป็นบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 34.30  และไม่ปฏิบัติเลย
                   คิดเป็นร้อยละ 25.50
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35