Page 29 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        20


                   ปูนโดโลไมท์ มีคุณสมบัติเหมือนกับปุ๋ยเคมี และข้อที่ 13) ปูนโดโลไมท์มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยชนิดหนึ่งที่ได้จาก

                   ธรรมชาติสามารถช่วยให้พืชเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตของพืชได้ ซึ่งทั้งสองข้อค าถามนี้เป็นเรื่อง
                   คุณสมบัติของปูนโดโลไมท์ที่เป็นวัสดุปูนหรือเป็นสารที่ใช้ในการปรับปรุงความเป็นกรดเป็นด่าง  (pH)

                   ของดิน แต่ในความคิดของเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคิดว่าปูนโดโลไมท์มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยเคมีชนิดหนึ่งที่ใช้ใส่
                   ในการปลูกพืชท าให้พืชเจริญเติบโตดี  ดังนั้นแนวทางการถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องการใช้ปูนโดโลไมท์

                   ในการแก้ไขปัญหาดินกรดแก่เกษตรกรต้องท าควบคู่ไปกับการท าความเข้าใจในเรื่องคุณสมบัติของ

                   ปูนโดโลไมท์และคุณสมบัติของปุ๋ยเคมีให้เห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนแก่เกษตรกรเพื่อไม่ให้เกิดความ
                   เข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการน าปูนโดโลไมท์ไปใช้แทนปุ๋ยเคมีในพื้นที่ท าการเกษตรของหมอดินอาสา


                          การวิเคราะห์คะแนนระดับความรู้เรื่องดินกรดและการใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุงพื้นที่
                          ดินกรด
                          ผู้วิจัยได้แบ่งระดับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลความรู้เรื่องดินกรดและการใช้

                   ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุงพื้นที่ดินกรดของหมอดินอาสาผู้ตอบแบบสอบถาม ออกเป็น 3 ระดับ คือ
                          1. หมอดินอาสาที่สามารถตอบค าถามได้ถูกต้อง 1-6 ข้อ หมายถึง หมอดินอาสามีความรู้ใน

                   ระดับน้อย

                          2.  หมอดินอาสาที่สามารถตอบค าถามได้ถูกต้อง 7-12 ข้อ หมายถึง หมอดินอาสามีความรู้ใน
                   ระดับปานกลาง

                          3.  หมอดินอาสาที่สามารถตอบค าถามได้ถูกต้อง 13-18  ข้อ หมายถึง หมอดินอาสามีความรู้ใน
                   ระดับมาก

                          จากการศึกษาพบว่า หมอดินอาสามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องดินกรดและการใช้ปูนโดโลไมท์ในการ
                   ปรับปรุงพื้นที่ดินกรดอยู่ในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 92.65  รองลงมามีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง

                   คิดเป็นร้อยละ 7.35 และมีความรู้อยู่ในระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 0.00  (ตารางที่ 6)


                   ตารางที่ 6  การวิเคราะห์คะแนนระดับความรู้ของหมอดินอาสาเกี่ยวกับความรู้เรื่องดินกรดและการ

                                  ใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุงพื้นที่ดินกรด

                        คะแนนระดับความรู้เรื่องดินกรดและการใช้ปูน     จ านวน (คน)            ร้อยละ
                           โดโลไมท์ในการปรับปรุงพื้นที่ดินกรด
                     ระดับความรู้น้อย (1-6 คะแนน)                          0                  0.00

                     ระดับความรู้ปานกลาง (7-12 คะแนน)                     15                  7.35
                     ระดับความรู้มาก (13-18  คะแนน)                       189                92.65
                     รวม                                                  204                   100.00


                   ค่าต่ าสุด     11     คะแนน                ค่าเฉลี่ย      14.36  คะแนน
                   ค่าสูงสุด      18     คะแนน                ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  1.392
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34