Page 24 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        15


                                                     ผลการศึกษาและวิจารณ์


                          การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรด
                   พื้นที่ท าการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสังคมศาสตร์ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้

                   แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และน ามาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติ

                   ส าเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และได้น าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ตอน ดังนี้
                          ตอนที่ 1 ลักษณะปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม

                          ตอนที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดินกรดและการใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุง พื้นที่ดินกรด
                          ตอนที่ 3 การปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุงพื้นที่ดินกรด

                          ตอนที่ 4 การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับความรู้และการปฏิบัติของหมอดินอาสา

                                  (การทดสอบสมมติฐาน)
                          ตอนที่ 5 ปัญหาและข้อเสนอแนะของหมอดินอาสาต่อการใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุง

                                  พื้นที่ดินกรด
                          ตอนที่ 6 วิจารณ์ผลการศึกษา


                   ตอนที่ 1  การวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทั่วไป (ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัย
                               ด้านเศรษฐกิจและสังคม)

                          จากการศึกษาข้อมูลทั่วไปพบว่าหมอดินอาสาผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 90.68

                   เป็นเพศชาย และร้อยละ 9.32 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 48.47 ปี และส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยได้รับ
                   การศึกษาในระดับต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 92.65  มีประสบการณ์ในการใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุงดิน

                   กรดคิดเป็นร้อยละ  87.74  ส่วนใหญ่ใช้แรงงานน้อยกว่า 2 คนในการหว่านปูนโดโลไมท์คิดเป็นร้อยละ

                   77.94 และเป็นเจ้าของท าเองคิดเป็นร้อยละ 64.22 โดยได้รับปูนโดโลไมท์จากกรมพัฒนาที่ดินคิดเป็น
                   ร้อยละ 86.76 และการรับรู้ข่าวสารส่วนใหญ่ร้อยละ 77.94 มาจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน

                   และหมอดินอาสาผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ  67.16  ได้รับค าปรึกษาหรือได้รับข้อแนะน า
                   เกี่ยวกับการใช้ปูน 1-2 ครั้งต่อปี ด้านการได้รับการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน ประชุม และชมการสาธิต

                   เกี่ยวกับการใช้    ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุงดินกรด 1 -2 ครั้งต่อปีคิดเป็นร้อยละ 61.76 หมอดินอาสา
                   ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 50.00 ไม่เคยได้รับการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของดิน รองลงมาเคย

                   ได้รับการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของดิน 1 -2 ครั้งต่อปีคิดเป็นร้อยละ 46.57 สาเหตุส่วนใหญ่ของหมอดิน

                   อาสาไม่เคยได้รับการตรวจวิเคราะห์หาค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินก่อนการน าปูนโดโลไมท์ไป
                   ใช้ เนื่องจากหมอดินอาสายังไม่เห็นถึงความส าคัญในการปฏิบัติในเรื่องการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนการใช้

                   ปูนโดโลไมท์และยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการที่แนะน า (ตารางภาคผนวกที่ 1-11)

                          ด้านข้อมูลทางเศรษฐกิจหมอดินอาสาส่วนใหญ่มีรายได้น้อยกว่า 100,000 บาทต่อปี และมี
                   ค่าเฉลี่ยของรายได้เท่ากับ 97,104.51 บาทต่อปี (ตารางภาคผนวกที่ 12) ขณะที่รายจ่ายทั้งหมดที่ใช้ในการ

                   ท าการเกษตรเฉลี่ย 29,539.71 บาทต่อปี (ตารางภาคผนวกที่ 20) แรงงานในการท าการเกษตรโดยเจ้าของ
                   ท าเองคิดเป็นร้อยละ 58.82 (ตารางภาคผนวกที่ 21)
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29