Page 16 - การประยุกต์ใช้ข้อมูลกลุ่มชุดดิน และข้อมูลการใช้ที่ดินสำหรับให้บริการบนแอปพลิเคชันสารสนเทศทรัพยากรดินรายจังหวัด
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         6




                   เครื่องวาด (Plotter)  ซึ่งใช้กับกระดาษขนาดตั้งแต่ เอ4 ขึ้นไป ส าหรับตัวแปลงเป็นดิจิทัล คือเครื่อง
                   ถ่ายทอดขอบเขตต่างๆ บนแผนที่ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ และจานบันทึกแบบแข็ง (Hard  disk)  ต้อง

                   สามารถเก็บข้อมูลไว้อย่างเพียงพอหรือใช้ซีดีรอม (CD-ROM) เป็นสื่อในการบันทึกข้อมูล
                                   2.1.2.5  กระบวนงาน (Procedure) คือ ขั้นตอนหรือวิธีการสนับสนุนการวิเคราะห์
                   เพื่อด าเนินงานให้ได้สารสนเทศตามเป้าหมาย ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบและองค์ความรู้ต่างๆ ตามศาสตร์
                   ที่จะด าเนินการ ประกอบด้วย วิธีการน าเข้าข้อมูล วิธีการจัดการข้อมูล วิธีการประมวลผลข้อมูล วิธีการ

                   วิเคราะห์ข้อมูล วิธีการจัดเก็บข้อมูล และวิธีการแสดงผลข้อมูล

                           การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นจุดแข็งของระบบที่ท าให้ข้อมูลเชิงพื้นที่
                   และข้อมูลเชิงตารางสามารถน ามาประมวลผลรวมกันโดยเทคนิคการซ้อนทับข้อมูล ท าให้สามารถ
                   แก้ปัญหาที่ซับซ้อนของทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการวางแผนการใช้ที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
                   รวดเร็ว ท าให้กระบวนการการตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและจัดแสดงในรูปแบบแผนที่ รายงาน

                   ในระบบหนังสือ หรือระบบดิจิตอลซึ่งสามารถสืบค้นและเข้าถึงได้ง่าย

                           2.1.3  หน้าที่ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
                           ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและเทคโนโลยี ซึ่งมีกระบวนการ
                   ขั้นตอน และหน้าที่หลักอยู่ 5 อย่างดังนี้

                                  2.1.3.1  การน าเข้าข้อมูล (Input) ก่อนที่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกใช้งานได้ในระบบ

                   สารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะต้องได้รับการแปลง ให้มาอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเชิงตัวเลข (Digital format)
                   เสียก่อน เช่น จากแผนที่กระดาษไปสู่ข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลหรือแฟ้มข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์
                   ที่ใช้ในการน าเข้า เช่น เครื่องกราดภาพ (Scanner) และ คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นต้น
                                  2.1.3.2  การปรับแต่งข้อมูล (Manipulation)  ข้อมูลที่ได้รับเข้าสู่ระบบบางอย่างจ าเป็น

                   ต้องได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับงาน เช่น ข้อมูลบางอย่างมีขนาดหรือมาตราส่วน (Scale) ที่แตกต่างกัน
                   หรือใช้ระบบพิกัดแผนที่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ในระดับเดียวกันก่อน
                                  2.1.3.3  การบริหารจัดการข้อมูล (Management)  ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database
                   Management  System:  DBMS)  จะถูกน ามาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการท างานที่มีประสิทธิภาพ

                   ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ได้รับการเชื่อถือและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง
                   ที่สุด คือระบบจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพัทธ์ (Relational DBMS) ซึ่งมีหลักการท างานพื้นฐานดังนี้ คือข้อมูล
                   จะถูกจัดเก็บในรูปของตารางหลายๆ ตาราง
                                  2.1.3.4  การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis) เมื่อระบบสารสนเทศ

                   ภูมิศาสตร์ มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การน าข้อมูลเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์
                   เช่น ใครคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนที่ติดกับโรงเรียน เมืองสองเมืองนี้มีระยะห่างกันกี่กิโลเมตร ดินชนิด
                   ใดบ้างที่เหมาะส าหรับปลูกอ้อย หรือต้องมีการสอบถามอย่างง่ายๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้ว

                   เลือก (Point  and  click)  เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ยังมี
                   เครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (Proximity หรือ Buffer) การซ้อนทับข้อมูล
                   (Overlay technique) เป็นต้น
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21