Page 11 - การประยุกต์ใช้ข้อมูลกลุ่มชุดดิน และข้อมูลการใช้ที่ดินสำหรับให้บริการบนแอปพลิเคชันสารสนเทศทรัพยากรดินรายจังหวัด
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                              บทที่ 1

                                                              บทน า


                   1.1 หลักการและเหตุผล
                          ในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication
                   Technology:  ICT)  เข้ามามีบทบาทในทุกช่วงเวลาของการด าเนินชีวิต ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็น า

                   เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งาน เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
                   ที่ส าคัญ เช่น คอมพิวเตอร์ ข้อมูล การสื่อสาร และระบบอินเทอร์เน็ตเป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศนับว่าเป็นเครื่องมือ
                   อันทรงพลังที่สามารถจัดการประมวลผลข้อมูลจ านวนมหาศาล อาทิ ข้อมูลด้านการคมนาคมขนส่ง ข้อมูลด้าน
                   การแพทย์ ข้อมูลด้านสุขอนามัย ข้อมูลด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และข้อมูลเชิงพื้นที่หรือข้อมูลภูมิสารสนเทศ

                   อื่นๆ เป็นต้น ท าให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ถูกต้องแม่นย ารวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
                          ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ได้มีการพัฒนาผ่านยุคต่างๆ เริ่ม
                   ตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1960 จนในปัจจุบันเราอยู่ในยุคระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet

                   Geographic  Information  System)  ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคในการเข้าถึง เผยแพร่ และแบ่งปันข้อมูล โดยข้อมูล
                   สารสนเทศภูมิศาสตร์  เป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างข้อมูลที่ซับซ้อน และมีขนาดใหญ่ การที่จะให้บริการผ่านระบบ
                   เครือข่ายอินเตอร์เน็ต จ าเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การให้บริการมีความสะดวก รวดเร็ว
                   ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่าย และทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันให้หน่วยงาน
                   ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Government Data) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้ทุกที่

                   ทุกเวลา และสามารถน าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อน าไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 ซึ่งข้อมูลภาครัฐมีหลากหลาย
                   รูปแบบ มีระบบการให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว และมีหลายช่องทาง เช่น การให้บริการผ่านระบบกระจายเสียง
                   การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะการให้บริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในรูปแบบ เว็บ แอปพลิเคชัน

                   (Web Application) และ โมบาย แอปพลิเคชัน (Mobile Application) ซึ่งถือได้ว่าเป็นการให้บริการที่นิยมในปัจจุบัน
                   เนื่องจากเป็นการให้บริการที่มีความสะดวกมาก รวดเร็ว สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งข้อมูลภูมิสารสนเทศ
                   เป็นข้อมูลที่มีความส าคัญ ที่สามารถน าไปพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ แต่การให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่าน
                   เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ยังมีข้อจ ากัด เช่น ขนาดของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ความเร็วของอินเตอร์เน็ต การปรับปรุง

                   ข้อมูล และข้อก าหนด เงื่อนไข การให้บริการข้อมูลของหน่วยงาน เป็นต้น
                          กรมพัฒนาที่ดิน ให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผ่านช่องทาง เว็บ แอปพลิเคชัน
                   และ โมบาย แอปพลิเคชัน ทั้งข้อมูลดิน ข้อมูลการใช้ที่ดิน ภาพถ่ายออร์โธสี ฯลฯ ซึ่งการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศ
                   ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จ าเป็นต้องผ่านกระบวนการหรือเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้สามารถให้บริการได้อย่างสะดวก

                   รวดเร็ว ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ แอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดินที่ให้บริการผ่าน  เว็บ แอปพลิเคชัน และ
                   โมบาย แอปพลิเคชัน เช่น แอปพลิเคชันสารสนเทศดินและข้อมูลการใช้ปุ๋ย (LDD Soil Guide) แอปพลิเคชันปุ๋ย
                   รายแปลง เกมจ าลองการท าเกษตรกรรม (LDD’s IM FARM) ระบบแผนที่ทางเลือกพืชเศรษฐกิจ (LDD Zoning)
                   และแอปพลิเคชันสารสนเทศทรัพยากรดินรายจังหวัด (LDD Land Info)

                          แอปพลิเคชันสารสนเทศทรัพยากรดินรายจังหวัด (LDD  Land  Info)  เป็นระบบในการให้บริการแผนที่
                   ขนาด เอ4  พร้อมค าอธิบาย ทั้งหมด 7 ชนิดแผนที่ ประกอบด้วย แผนที่กลุ่มชุดดิน แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน
                   แผนที่ดินปัญหา แผนที่แนวเขตป่าไม้ถาวร แผนที่ความเหมาะสมของดินในการปลูกพืช (ข้าว พืชไร่ ไม้ผล) แผนที่

                   ก าหนดเขตเหมาะสมส าหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ (ข้าว อ้อยโรงงาน มันส าปะหลัง ปาล์มน้ ามัน ยางพารา) และแผนที่
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16