Page 17 - เปรียบเทียบพันธุ์หญ้าแฝกและพืชคลุมดินต่อการฟื้นฟูและการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                         1



                                                        หลักการและเหตุผล
                              จากปญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินในตําบลปากชอง อําเภอปากชอง จังหวัด
                       นครราชสีมา เนื่องจากการใชที่ดินปลูกพืชไรและไมผล ระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยว มีการใชปุยเคมี
                       และสารกําจัดศัตรูพืชมากเกินความจําเปน  บางพื้นที่มีการชะลางพังทลายของดิน จําเปนตองมี

                       การจัดการที่เหมาะสม แนวทางหนึ่งในการแกไขปญหาในพื้นที่เสื่อมโทรมคือการเพิ่มอินทรียวัตถุ
                       ใหแกดินเพื่อใหดินมีความอุดมสมบูรณมากขึ้น หญาแฝกเปนพืชที่นิยมนํามาใชเพื่อการอนุรักษดิน
                       และน้ํา ฟนฟู ปรับปรุงดิน ชวยลดการชะลางพังทลายของดิน กักเก็บตะกอนดินในพื้นที่ลาดชัน
                       คุณสมบัติที่ดีของหญาแฝกมีระบบรากเจริญเติบโตรวดเร็ว หยั่งรากลึกลงในดิน และแตกแขนงเปน

                       รากฝอยประสานกันแนน ระบบรากที่ลึกนี้ทําใหมีการสะสมอินทรียวัตถุลงไปในดินไดลึก รวมถึงการใช
                       ธาตุอาหารตาง ๆ จากดินนํามาสะสมในใบและรากของหญาแฝกรากบางสวนในดิน เมื่อถูกยอยสลายธาตุ
                       อาหารที่สะสมอยูจะถูกปลดปลอยออกมาซึ่งมีผลทําใหสมบัติทางเคมีและกายภาพของดิน
                       เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น นอกจากนั้นรากหญาแฝกสามารถเพิ่มการซึมซาบของน้ําลงดินทําใหดิน

                       อุมน้ําและยึดเหนี่ยวดินไดเพิ่มขึ้น เมื่อมีการตัดใบหญาแฝกคลุมดิน จะเปนวิธีการหนึ่งที่ลด
                       การระเหยน้ําจากผิวดินได ชวยใหความชื้นในดินเปนประโยชนตอพืช (พิทยากร, 2551) นอกจากนี้
                       การใชพืชคลุมดินจะเปนแนวทางหนึ่งในการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน รักษาความชื้นในดิน

                       เนื่องจากพืชคลุมดินสะดวกตอการปฏิบัติในไรนาที่มีพื้นที่กวางใหญ สามารถจัดเขาระบบการปลูก
                       พืชไดอยางเหมาะสม ซึ่งหญาแฝกมีหลายพันธุแตละพันธุจะมีความเหมาะสมในแตละภาคและ
                       พื้นที่ ดังนั้น การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดินจากการปลูกหญาแฝก
                       และพืชคลุมดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณใหกับดิน จะสามารถนําไปแนะนําการจัดการดินชุดดิน
                       วังสะพุงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไดในลําดับตอไป


                                                           วัตถุประสงค
                              1. ศึกษามวลชีวภาพและการเจริญเติบโตของพันธุหญาแฝกและพืชคลุมดิน

                              2. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดินจากการปลูกหญาแฝกและ
                       พืชคลุมดิน

                                                         การตรวจเอกสาร

                              ทรัพยากรดินเปนปจจัยหลักในการผลิตทางการเกษตร จึงนับวามีความสําคัญตอเกษตรกรซึ่ง
                       เปนกลุมอาชีพที่สําคัญที่สุดของประเทศ หากทรัพยากรดินเสื่อมโทรมขาดความอุดมสมบูรณไมมีการ
                       อนุรักษ ขาดการปรับปรุงบํารุงดิน เมื่อดินมีสภาพเสื่อมโทรมลงก็จะสงผลตอมนุษยหรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
                       ซึ่งสาเหตุของการเสื่อมโทรมของดินมาจากปจจัยตาง ๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เชน การกรอน

                       ของดิน เปนตน  และสาเหตุที่เกิดจากมนุษย ดังนั้นการจัดการดินใหเหมาะสมกับพื้นที่ โดยมีการ
                       อนุรักษดินและน้ํา การปรับปรุงบํารุงดินจึงมีความสําคัญและจําเปนอยางยิ่ง
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22