Page 33 - มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมในการปลูกข้าวไร่บนพื้นที่สูงในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแม่จันตอนบน ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
P. 33
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
23
ภาพที่ 3 อินทรียวัตถุในดิน (OM) หลังการทดลองปี 2557 ปี 2558 และ ปี 2559
2.2.3 ฟอสฟอรัส (P)
ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ก่อนการทดลองปี พ.ศ.2557 อยู่ในระดับปานกลาง
(medium) ถึง สูง (high) มีค่าอยู่ระหว่าง 14.00-17.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
หลังการทดลองปี พ.ศ.2557 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ อยู่ในระดับปานกลาง
(medium) มีค่าอยู่ระหว่าง 11.44-14.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดย
วิธีการที่ 7 ปลูกข้าวไร่ มีแถบชาอัสสัม ที่ระยะห่างคูรับน้ าขอบเขาในแนวดิ่ง 8 เมตร (V.I.=8 ม.)
มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูงสุด 14.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนวิธีการที่ 4 ปลูกข้าว
ไร่ มีแถบหญ้าแฝก ที่ระยะห่างคูรับน้ าขอบเขาในแนวดิ่ง 4 เมตร (V.I.=4 ม.) มีปริมาณฟอสฟอรัสที่
เป็นประโยชน์ในดินต่ าสุด 11.44 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ตารางที่ 5)
หลังการทดลองปี พ.ศ.2558 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับปานกลาง
(medium) ถึงสูง (high) มีค่าอยู่ระหว่าง 14.72-34.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ไม่มีความแตกต่างกัน
ทางสถิติ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีค่าเพิ่มสูงขึ้นอยู่ในระดับสูง แสดงให้เห็นว่าฟอสฟอรัสที่
เป็นประโยชน์ในดินทุกวิธีการมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน โดยวิธีการที่ 1 ปลูกข้าวไร่ ไม่มี
ระบบอนุรักษ์ดินและน้ า ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีแนวโน้มเฉลี่ยสูงสุด 34.00 มิลลิกรัมต่อ
รองลงมา คือ วิธีการที่ 5 ปลูกข้าวไร่ มีแถบหญ้าแฝก ที่ระยะห่างคูรับน้ าขอบเขาในแนวดิ่ง 8 เมตร