Page 28 - มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมในการปลูกข้าวไร่บนพื้นที่สูงในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแม่จันตอนบน ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
18
2. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน
2.1 สมบัติของดินก่อนการทดลอง ปี พ.ศ. 2557
จากการวิเคราะห์ดินก่อนเริ่มด าเนินการทดลองในปีแรกโดยเก็บตัวอย่างดินแบบ
composite sample ที่ระดับความลึก 0-15 เซนติเมตร พบว่า ดินเป็นกรดรุนแรงมาก มีค่าความ
เป็นกรดเป็นด่างของดิน เท่ากับ 4.12 ปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับปานกลางคือ 2.19 เปอร์เซ็นต์
มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ เท่ากับ 12.73 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับปาน
กลาง ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ เท่ากับ 83 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง
(ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ทางเคมีก่อนปลูกข้าวไร่ ปี พ.ศ.2557
ผลการวิเคราะห์ pH ปริมาณ ฟอสฟอรัสที่เป็น โพแทสเซียมที่สกัดได้
-1
-1
ดิน อินทรียวัตถุ (%) ประโยชน์ (mg-kg ) (mg-kg )
ก่อนปลูกพืช 4.12 2.19 12.73 83
2.2 สมบัติของดินหลังการทดลอง
2.2.1 ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH)
หลังการทดลองปี 2559 มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงทุกปีและแนวโน้มค่าความเป็นกรด
เป็นด่างของดินปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมีสภาพเป็นกรดจัดมาก (very strongly acid) มีค่าความเป็นกรด
เป็นด่างอยู่ในช่วง 4.29-5.18 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (ตารางที่ 3) สาเหตุที่ความเป็นกรดเป็น
ด่างเพิ่มสูงขึ้นทุกวิธีการ โดยทั่วไปแล้วการใช้พื้นที่อย่างต่อเนื่อง และเกิดการชะล้างหน้าดินในพื้นที่จะ
ส่งผลท าให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีค่าลดลง แต่จากภาพที่ 2กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจ
เป็นผลเนื่องมาจากการเตรียมพื้นที่ของเกษตรกรที่นิยมการเผาเศษวัชพืชมากกว่าการขนย้ายออกจาก
พื้นที่ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าระบบคูรับน้ าขอบเขาที่มีระยะห่างในแนวดิ่งต่างๆ กันมีผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินน้อยกว่าการจัดการพื้นที่