Page 35 - มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมในการปลูกข้าวไร่บนพื้นที่สูงในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแม่จันตอนบน ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
P. 35
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
25
ภาพที่ 4 ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Available P) หลังการทดลองปี 2557 ปี 2558 และปี 2559
2.2.4 โพแทสเซียม (K)
โพแทสเซียม (K) ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ (Extractable K) ก่อนการทดลองปี พ.ศ.2557
อยู่ในระดับปานกลาง (medium) ถึง สูง (high) มีค่าอยู่ระหว่าง 82.66-93.33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
หลังการทดลองปี พ.ศ.2557 ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดิน อยู่ในระดับปานกลาง (medium)
ถึง สูง (high) มีค่าอยู่ระหว่าง 76.50-118.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
หลังการทดลองปี พ.ศ.2558 โพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินอยู่ในระดับสูงมาก (very high) มี
ค่าอยู่ระหว่าง 266.97-388.28 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ค่าโพแทสเซียมที่
สกัดได้ที่สูงนั้นมาจากผลตกค้างจากการใส่ปุ๋ยเคมี ซึ่งในปี พ.ศ.2558 ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ย 1,170
มิลลิเมตร น้อยกว่าปริมาณน้ าฝนปี พ.ศ.2557 เฉลี่ย 1,565 มิลลิเมตร และปริมาณน้ าฝนปี พ.ศ.2559
เฉลี่ย 1,635 มิลลิเมตร
หลังการทดลองปี พ.ศ.2559 ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดิน อยู่ในระดับปานกลาง
(medium) มีค่าอยู่ระหว่าง 68.22-87.34 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แสดง
ให้เห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินที่สกัดได้ มีแนวโน้มลดลง
ในทุกวิธีการ กล่าวได้ว่า ระบบคูรับน้ าขอบเขาที่ระยะห่างในแนวดิ่งมีค่าต่าง ๆ ไม่มีผลต่อปริมาณ
โพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินที่สกัดได้ ส่วนหนึ่งมีการน าไปใช้ในการเจริญเติบโตของข้าวไร่ และสูญเสีย
ไปกับการกร่อนของดิน ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินที่สกัดได้ที่เหลืออยู่ในดิน เป็นผลมาจาก
ปุ๋ยเคมีที่ตกค้างจากการใส่ลงไปในแปลงข้าวไร่