Page 17 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่ม บ้านนาหมัน หมู่ที่ 4 ตำบลแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                         7







                       ตารางที่ 1 การจัดชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดินในประเทศไทย
                            ระดับการสูญเสียดิน                    อัตราการสูญเสียดิน

                                                         ตันต่อไร่ต่อปี          มิลลิเมตรต่อปี

                       1. น้อย                               0 - 2                  0 - 0.96
                       2. ปานกลาง                            2 - 5                0.96 - 2.40

                       3. รุนแรง                            5 - 15                2.40 - 7.20
                       4. รุนแรงมาก                        15 - 20                7.20 - 9.60

                       5. รุนแรงมากที่สุด                 มากกว่า 20              มากกว่า 9.60

                       ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน (2545)

                                            (8) การค้านวณระยะห่างของมาตรการอนุรักษ์ดินและน้้าของคูรับน้้าขอบ
                       เขา (คันดินแบบที่ 6) มีสมการ ดังนี้ (Taiwan Provincial Soil and Water Conservation Bureau
                       and the Chinese Soil and Water Conservation Society, 1995)


                                                           VI =                                (8)


                                     เมื่อ   VI คือ ระยะห่างในแนวดิ่ง มีหน่วยเป็นเมตร
                                             S คือ เปอร์เซ็นต์ความลาดเทของพื้นที่


                                     2) การก่อสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้้า
                                            (1) คูรับน้้าขอบเขา (คันดินแบบที่ 6) มีวิธีด้าเนินการ ดังนี้
                                                - ใช้เทปวัดระยะ วัดแนวก่อสร้างคูรับน้้าขอบเขา (คันดินแบบที่ 6) ให้
                       ได้ระยะห่างของแต่ละขั้น ตามที่ก้าหนดไว้ในแบบแปลน แนวนี้เรียกว่า แนวหลัก (main  line) ใช้ไม้

                       หลักแนวที่ทาสีแดงและสีขาว ปักสลับสีกัน เพื่อหมายแนวคูรับน้้าของเขา แต่ละขั้น
                                                - ใช้ไม้สต๊าฟตั้งตรงไม้หลักที่ปักไว้ในแนวหลัก (main  line) ใช้กล้อง
                       ระดับอ่านค่าระดับ แล้วถ่ายค่าระดับไปทางซ้ายและทางขวาของแนวหลัก (main line) ใช้ไม้หลักที่มี

                       สีเดียวกันกับแนวหลัก (main  line)  ปักหมายไว้ตลอดแนว ทุก ๆ 10 เมตร และท้าการวางแนวให้
                       ครอบคุลมพื้นที่ทั้งหมด
                                                - ใช้แรงงานคนขุด โดยวัดระยะห่างจากไม้หลักแนวที่ปักไว้ลงมา 0.75
                       เมตร เป็นจุดเริ่มขุด และขุดเข้าไปจนถึงไม้หลักแนวที่ปักไว้ และย้ายดินขุดมาถมตรงจุดที่ต่้าด้านล่าง

                       ต่อจากจุดเริ่มขุดถมออกมา 0.75 เมตร เพื่อให้ได้พื้นที่ราบ ความกว้าง 1.50 เมตร มีความลาดเท
                       ผกผันกลับด้านใน 10 เปอร์เซ็นต์ ความลึกของงานดินตัดลึก มากกว่าหรือเท่ากับ 0.50 เมตร
                                              - ปริมาตรดินขุดดินถม ตั้งแต่ 0.2 ลูกบาศก์เมตรต่อเมตร
                                              - ความยาวแบบระดับไม่จ้ากัด และแบบลดระดับ ไม่ควรเกิน 300-600 เมตร
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22