Page 12 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่ม บ้านนาหมัน หมู่ที่ 4 ตำบลแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                         2







                       ปัญหาดังกล่าว ความเสียหายที่เกิดแก่พื้นที่ จะเกี่ยวกับการสูญเสียหน้าดิน ซึ่งเป็นแหล่งสะสมธาตุ
                       อาหารของพืช

                              กรมพัฒนาที่ดิน จึงได้ท้าโครงการอนุรักษ์ดินและน้้าในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่ม เพื่อป้องกัน
                       และฟื้นฟูพื้นที่ที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่ม อนุรักษ์ดินและป่าต้นน้้าล้าธารให้ยั่งยืน และปรับสภาพพื้นที่ป่า
                       เสื่อมโทรมและพื้นที่การเกษตรให้เป็นป่าธรรมชาติ โดยการด้าเนินการอนุรักษ์ดินและน้้า ร่วมกับการ

                       ปลูกหญ้าแฝก และท้าร่องกักตะกอนดิน มาตรการวิธีกล ได้แก่ คูรับน้้าขอบเขา และทางล้าเลียงในไร่
                       นา ร่วมกับการปลูกหญ้าแฝก เพื่อชะลอความเร็วของน้้าที่ไหลลงมาจากด้านบน พร้อมสนับสนุนให้
                       เกษตรกรมีการปลูกพืชไม้โตช้าหรือไม้โตเร็ว ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง สถานีพัฒนาที่ดินน่าน จึง
                       ได้คัดเลือกพื้นที่ บ้านนาหมัน หมู่ที่ 4 ต้าบลแม่จริม อ้าเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นหมู่บ้านเสี่ยง

                       ภัยดินถล่ม ตามรายงานแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่มระดับชุมชน (กรมทรัพยากรธรณี, 2556)

                       1.2 วัตถุประสงค์
                              1.2.1  เพื่อศึกษาและวิเคราะห์พื้นที่ในการจัดท้าระบบอนุรักษ์ดินและน้้าในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อ
                       ดินถล่ม
                              1.2.2  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรในการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้้าในพื้นที่เสี่ยง

                       ภัยต่อดินถล่ม

                       1.3 ระยะเวลาและสถานที่ด าเนินงาน
                              1.3.1 ระยะเวลาด้าเนินงาน เดือนตุลาคม 2558 ถึง เดือนกันยายน 2559
                              1.3.2 สถานที่ด้าเนินงาน บ้านนาหมัน หมู่ที่ 4 ต้าบลแม่จริม อ้าเภอแม่จริม จังหวัดน่าน


                       1.4 ขั้นตอนและวิธีด าเนินงาน

                              1.4.1 ขั้นตอนการด้าเนินการ

                                     1) การคัดเลือกพื้นที่ โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยต่อดินถล่ม พื้นที่ต้องมี
                       ความลาดชันมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ อยู่นอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย หากอยู่ในเขตป่าจะต้องมี

                       เอกสารยินยอมจากเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ เป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ

                       เกษตรกรมีความพร้อม และยอมรับเข้าร่วมโครงการในรูปแบบที่ด้าเนินการภายใต้โครงการ
                                     2) เตรียมข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ หรือแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม พร้อมเส้น

                       ชั้นความสูง ระบุต้าแหน่งส้าคัญของหมู่บ้าน มาตราส่วน 1: 4,000
                                     3) นัดประชุมเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย เพื่อชี้แจงถึงหลักการเหตุผล วัตถุประสงค์

                       และประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับ รับสมัครเกษตรกรที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ โดยพิจารณาจาก

                       พื้นที่เป้าหมายที่ได้ก้าหนดไว้ ประมาณ 200-300 ไร่ วงรอบขอบเขตพื้นที่ที่จะด้าเนินการ มาตราส่วน
                       1:50,000 ส่งคณะท้างานออกแบบล่วงหน้า ส้านักงานพัฒนาที่ดินเขต 7
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17