Page 20 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่ม บ้านนาหมัน หมู่ที่ 4 ตำบลแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       10






                                                             บทที่ 2

                                                           ข้อมูลทั่วไป

                       2.1 ที่ตั้ง อาณาเขต และการคมนาคม

                              ตั้งอยู่ ต าแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ระหว่าง E710384 ถึง E711396 และ N2083889  ถึง

                       N2084596 ระบบพิกัดกริดแบบ UTM Zone47N พื้นหลักฐาน WGS84 แผนที่มาตราส่วน 1:50,000
                       ล าดับชุดที่ L7018 ระวาง 5146 I  เนื้อที่ 396.20 ไร่ (ภาพที่ 4) อยู่ห่างจากตัวจังหวัดน่านไปทางทิศ
                       ตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 46 กิโลเมตร และการคมนาคมจากจังหวัดน่าน ใช้ทางหลวงแผ่นดิน
                       หมายเลข 1168 และหมายเลข 1225

                                     ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านตองเจริญราษฎร์ ต าบลแม่จริม อ าเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
                                     ทิศใต้   ติดต่อกับ บ้านก้อ ต าบลแม่จริม อ าเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
                                     ทิศตะวันออก ติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

                                     ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านดอนใหม่ ต าบลพงษ์ อ าเภอสันติสุข จังหวัดน่าน
                       2.2 ลักษณะภูมิอากาศ


                              พื้นที่โครงการอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่ม บ้านนาหมัน หมู่ที่ 4 ต าบลแม่จ
                        ริม อ าเภอแม่จริม จังหวัดน่าน จัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Tropical savannah: Aw)
                        ตามระบบการจ าแนกภูมิอากาศของ Koppen โดยมีปริมาณน้ าฝนรวมทั้งปี 1,293.5 มิลลิเมตร
                        ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 75.3 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด

                        เฉลี่ยทั้งปี 33.3 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ าสุดเฉลี่ยทั้งปี 20.3 องศาเซลเซียส (ตารางที่ 2)
                        สามารถแบ่งลักษณะภูมิอากาศออกเป็น 3 ฤดูกาล ได้แก่

                                     ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ระยะนี้เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพล
                       จากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เดือนที่มีฝนตกหนักมากสุด คือ เดือนสิงหาคม ปริมาณฝนเฉลี่ย 273.1
                       มิลลิเมตร เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นที่พัดเข้ามาในช่วงดังกล่าว

                                     ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ระยะนี้เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพล

                       จากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นลมหนาวและแห้งแล้ง เดือนมกราคม เป็นเดือนที่มีอุณหภูมิ
                       ต่ าสุดเฉลี่ย 14.5 องศาเซลเซียส

                                     ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ระยะนี้จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม
                       ตะวันออกเฉียงใต้ อุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไปจะสูงขึ้น ท าให้มีสภาพอากาศร้อนกว่าปกติ และจะร้อนมาก
                       ที่สุดในเดือนเมษายน โดยมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 36.7 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ อาจจะมีพายุโซนร้อน

                       เกิดขึ้นเนื่องจากอากาศเย็นจากประเทศจีนได้เคลื่อนตัวลงมาเป็นครั้งคราว ท าให้เกิดปะทะกับอากาศ
                       ร้อนเขตท้องถิ่น เกิดเป็นแนวปะทะอากาศเย็น ท าให้มีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นแต่มีฝนตกไม่นาน
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25