Page 11 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่ม บ้านนาหมัน หมู่ที่ 4 ตำบลแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                         1







                                                             บทที่ 1

                                                             บทน า


                       1.1 หลักการและเหตุผล

                              การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและ

                       สังคม ส่งผลให้ลักษณะของฝนมีความรุนแรงมากขึ้นและเกิดภาวะฝนตกหนัก แสงจันทร์ และคณะ
                       (2553) ได้ศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงดัชนีความแรงของฝนในประเทศไทย ในช่วงปี 2508-2549
                       พบว่า มีการเพิ่มขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และ

                       ภาคกลาง ซึ่งส่งผลให้เกิดอุทกภัยและภัยดินถล่มตามมาในพื้นที่เสี่ยงภัยที่ลาดชันเชิงเขาที่มีการสะสม
                       ตัวของชั้นดินและชั้นหินผุ การแทรกตัวของน้้าในช่องว่างระหว่างเม็ดดินมีมากขึ้น ท้าให้ความดัน
                       ระหว่างมวลเม็ดดินหรือหิน  (pore  pressure) เพิ่มสูงขึ้นตามมา เมื่อถึงจุดวิกฤติมวลดินหรือหิน
                       เหล่านี้ไม่สามารถคงสภาพเสถียรได้ ก็จะเกิดการวิบัติขึ้นเป็นปรากฏการณ์ดินถล่ม สาเหตุของดินถล่ม
                       มักเกิดจากขบวนการทางธรรมชาติ เช่น ฝนและความชื้นในดิน การกัดกร่อนผุพังของดินและหิน การ

                       เปลี่ยนแปลงสภาพป่าจากไฟป่า เป็นต้น แต่ในปัจจุบันกิจกรรมที่มนุษย์เข้าไปรบกวนธรรมชาติมีมาก
                       ขึ้น อาจเป็นสาเหตุของดินถล่มได้ เช่น การรุกล้้าเขตป่าและปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การ
                       ก่อสร้างและปรับเปลี่ยนความชันของเขา เป็นต้น

                              กรมทรัพยากรธรณี (2554) และกรมพัฒนาที่ดิน (2558) ได้กล่าวว่า ปัจจัยการเกิดดินถล่ม มี

                       4 ด้าน ได้แก่ สภาพธรณี สภาพภูมิประเทศ ปริมาณน้้าฝน และการเปลี่ยนแปลงสภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่ง
                       ลักษณะทางธรณีวิทยาของจังหวัดน่าน ด้านตะวันออก จะเป็นหินตะกอนจ้าพวกกรวดมน หินทราย
                       หินดินดาน และหินโคลน ตอนกลางของจังหวัด จะเป็นหินตะกอนและหินอัคนี ด้านตะวันตก เป็นหิน
                       กรวดมน หินทราย หินทรายแป้ง และหินโคลน และพบหินอัคนีจ้าพวกหินแกรนิต และหินไพรอกซี

                       ไนต์ ปรากฏเป็นหย่อมในเขตอ้าเภอบ่อเกลือ สันติสุข และแม่จริม โครงสร้างทางธรณีวิทยา มีลักษณะ
                       เป็นชั้นหินคดโค้งแบบประทุนคว่้าและประทุนหงายสลับกัน และยังพบกลุ่มรอยเลื่อนปัวที่เป็นรอย
                       เลื่อนมีพลังและมีโอกาสเคลื่อนตัวอีกครั้ง ประกอบกับสภาพภูมิประเทศ เป็นภูเขาสูง มีความสูง 600-
                       1,200 เมตร เหนือระดับทะเลปานกลาง มีความลาดชันเกินกว่า 30 องศา และยังมีล้าธารและล้าห้วย

                       จ้านวนมาก ในฤดูฝนมีปริมาณน้้าฝนเฉลี่ย 1,300 มิลลิเมตรต่อปี ในปัจจุบันมีการบุกรุกท้าลายพื้นที่
                       ป่าต้นน้้า เพื่อใช้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวไร่แบบหมุนเวียน จ้านวนมาก จนท้าให้กลายเป็นภูเขา
                       หัวโล้น ขาดต้นไม้ใหญ่ที่มีระบบรากยึดเหนี่ยวหน้าดิน เมื่อมีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ดินอุ้มน้้าไม่ไหว

                       ก็จะเริ่มเกิดเป็นดินแยกและพังถล่มลงมาในที่สุด
                              เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 เกิดเหตุการณ์ดินถล่มและน้้าป่าไหลหลากที่บ้านสบปืน หมู่ที่ 2

                       ต้าบลห้วยโก๋น อ้าเภอเฉลิมพระเกียรติ และที่บ้านน้้าพิ ต้าบลทุ่งช้าง อ้าเภอทุ่งช้าง (กรมทรัพยากร
                       ธรณี, 2554) สาเหตุหลักนอกจากคุณลักษณะทางกายภาพของพื้นที่แล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่มีส่วนช่วยให้
                       เกิดปัญหาดินถล่มและน้้าท่วม ได้แก่ การตัดไม้ท้าลายป่า เพื่อปลูกพืชไร่ ท้าให้เกิดการชะล้างพังทลายของ

                       หน้าดิน ท้าให้พื้นที่ดังกล่าวเสี่ยงภัยต่อการเกิดดินถล่มและน้้าป่าไหลหลาก เนื่องจากไม่มีพืชปกคลุม
                       หน้าดิน และมีการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสม พื้นที่มีความลาดเทสูง ซึ่งเป็นองค์ประกอบท้าให้เกิด
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16