Page 14 - การจัดการดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 56 จังหวัดตากโครงการนำร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                         1

                                                     หลักการและเหตุผล



                          ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ ที่มอบหมายใหกรมพัฒนาที่ดินกําหนดแผนงาน

                   จัดทําโครงการนํารองการผลิตพืชตามเขตความเหมาะสมของการใชที่ดิน เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อเปน
                   การพัฒนาขีดความสามารถการแขงขันในประชาคมอาเซียน โดยมุงหวังที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช

                   เศรษฐกิจ ไดแก ขาว ขาวโพด ออย มันสําประหลัง ยางพารา และปาลมน้ํามัน ใหมีผลผลิตเพิ่มขึ้น และลด
                   ตนทุนการผลิต จนสามารถแขงขันกับประเทศในประชาคมอาเซียนไดนั้น แตเนื่องจากปจจุบันระบบการ

                   ผลิตของพืชเศรษฐกิจเหลานี้ยังประสบปญหาหลายประการ ทั้งดานทรัพยากรดิน ซึ่งขาดความอุดม

                   สมบูรณ ดินมีศักยภาพการผลิตต่ํา การใชที่ดินที่ไมเหมาะสมกับศักยภาพของดิน ขาดแคลนแหลงน้ํา
                   ตนทุนการผลิตสูง และเกษตรกรขาดความเขาใจในการจัดการดินกับพืชที่ถูกตองเหมาะสม สาเหตุตาง ๆ

                   เหลานี้เปนขอจํากัดที่ทําใหระบบการผลิตไมมีประสิทธิภาพเทาที่ควร และยากตอการแขงขันในประชาคม
                   อาเซียน ดังนั้น การจะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชจําเปนตองมีการจัดการปุยที่เหมาะสมรวมกับ

                   การศึกษาวิถีการลดตนทุนการผลิต และเพิ่มผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ

                          มันสําปะหลังเปนพืชเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ มีพื้นที่ปลูกรวมประมาณ 9,037,273 ไร
                   (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2556) สภาพทรัพยากรดินที่มีการปลูกมันสําปะหลังมีขอจํากัดที่แตกตาง

                   กันออกไป เชน ดินทราย ดินคอนขางเปนทราย ดินตื้น ทําใหระดับความเหมาะสมของดินสําหรับการปลูก

                   มันสําปะหลังมีความแตกตางกัน การศึกษาครั้งนี้ไดกําหนดไหดําเนินการในพื้นที่ที่ดินมีระดับความ
                   เหมาะสมเล็กนอย (S3) สําหรับการปลูกมันสําปะหลัง และไดคัดเลือกพื้นที่อําเภอวังเจา จังหวัดตาก ซึ่งมี

                   พื้นที่ปลูกมันสําปะหลังเปนอันดับที่ 2 ของจังหวัดเปนพื้นที่ดําเนินการ โดยมีพื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้น 35,021
                   ไร คิดเปนรอยละ 26 ของพื้นที่เพาะปลูกมันสําปะหลังทั้งหมด ผลจากการศึกษาจะเปนฐานขอมูลที่สําคัญ

                   ในการพัฒนาระบบการผลิตและถายทอดเทคโนโลยีการผลิตไปสูพื้นที่อื่น ๆ เปนการเตรียมความพรอม

                   และพัฒนาขีดความสามารถการสงออกมันสําปะหลัง เพื่อการแขงขันในประชาคมอาเซียนตอไป


                                                        วัตถุประสงค



                          1. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินในการปลูกมันสําปะหลัง ในพื้นที่เขตความ
                   เหมาะสมเล็กนอย (S3)

                          2. เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสําปะหลัง ในพื้นที่เขตความ
                   เหมาะสมเล็กนอย (S3)

                          3. เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในการปลูกมันสําปะหลัง
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19