Page 13 - การจัดการดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 56 จังหวัดตากโครงการนำร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   ชื่อโครงการ           การจัดการดินเพื่อปลูกมันสําปะหลังในกลุมชุดดินที่ 56 จังหวัดตาก

                                         โครงการนํารองการผลิตพืชตามเขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อพัฒนา
                                         ขีดความสามารถการแขงขันในประชาคมอาเซียน

                                        Soil Management for Cassava Plantation in Soil Group 56,
                                        Tak Province

                                        Pilot Project on Cash Crop Production Based on Land Use Zoning to Increase

                                        Agricultural Competitiveness in ASEAN Community
                   กลุมชุดดิน/ชุดดิน    กลุมชุดดินที่ 56 ชุดดินภูสะนา (Phu Sana series : Ps)

                   ผูดําเนินการ         นางสาวธนัชชา ติ๊บลังกา     Ms.Tanudcha Tiplungka


                                                          บทคัดยอ


                            การศึกษาการจัดการดินเพื่อปลูกมันสําปะหลังในกลุมชุดดินที่ 56 ชุดดินภูสะนา ในพื้นที่บาน

                   เดนวัว ตําบลเชียงทอง อําเภอวังเจา จังหวัดตาก มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมี

                   ของดิน แนวทางการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสําปะหลังในพื้นที่เขตความเหมาะสม
                   เล็กนอย (S3) และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในการปลูกมันสําปะหลังพันธุหวยบง 60 ดําเนินการระหวาง

                   เดือนพฤษภาคม 2559 ถึงเดือนมีนาคม 2560 โดยวางแผนการทดลองแบบสังเกตการณ (Observation
                   Trial) ประกอบดวย 5 ตํารับการทดลอง คือ การใชปุยตามวิธีเกษตรกร การใชปุยตามวิธีเกษตรกรรวมกับ

                   น้ําหมักชีวภาพ การใชปุยตามคําแนะนําโปรแกรมดินไทยและธาตุอาหารพืชรวมกับน้ําหมักชีวภาพ การใช

                   ปุยตามคําแนะนําจากโปรแกรมการจัดการดินและปุยรายแปลงรวมกับน้ําหมักชีวภาพ และการใชปุยตาม
                   คําแนะนําจากผลการวิเคราะหดินจากหองปฏิบัติการรวมกับน้ําหมักชีวภาพ

                            ผลการทดลองพบวา คาความเปนกรดเปนดางของดินหลังการทดลองสวนใหญมีคาลดลง

                   ยกเวนตํารับการทดลองที่ 4 และ 5 ที่มีคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากการใสปูนโดโลไมท ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
                   ลดลงทุกตํารับการทดลองมีคาอยูระหวาง 0.57-0.68 เปอรเซ็นต ปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่

                   เปนประโยชนมีคาเพิ่มขึ้นอยูระหวาง 37-63 และ 110-260 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม ตามลําดับ การ

                   เจริญเติบโตดานความสูง พบวา การใชปุยตามคําแนะนําจากการวิเคราะหดินในหองปฏิบัติการรวมกับน้ํา
                   หมักชีวภาพ ใหคาเฉลี่ยความสูงของตนมันสําปะหลังสูงสุด และการใชปุยตามคําแนะนําจากโปรแกรมการ

                   จัดการดินและปุยรายแปลงรวมกับน้ําหมักชีวภาพ ใหผลผลิตมันสําปะหลังสูงสุด 5,848 กิโลกรัมตอไร ซึ่ง
                   สูงกวาวิธีเกษตรกร 34.46 เปอรเซ็นต และตํารับที่ใหผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุดคือ การใชปุยตาม

                   คําแนะนําโปรแกรมดินไทยและธาตุอาหารพืชรวมกับน้ําหมักชีวภาพ สูงถึง 3,453 บาทตอไร
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18