Page 13 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจสอบดินภาคสนามสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ยในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                          5


                       และประมาณ 56-65  วัน (ฤดูฝน)  ผลผลิตเฉลี่ย 1,847 กิโลกรัมต่อไร่ (ที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์)
                       ผลผลิตสูงสุด 2,392 กิโลกรัมต่อไร่ (ที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์) อายุเก็บเกี่ยว 115-120 วัน












                                               (ก)                          (ข)











                                               (ค)                          (ง)                     (จ)

                       ภาพที่ 1 ลักษณะส าคัญของข้าวโพดลูกผสมพันธุ์แปซิฟิก 559 (ก) (ข) (ค (ง) และ (จ)

                              การรักษาศักยภาพการผลิตพืชของดินอย่างยั่งยืนนั้นจ าเป็นต้องรักษาสมดุลระหว่างปริมาณ

                       ธาตุอาหารที่ใส่ลงไป (inputs) กับปริมาณที่สูญหาย (outputs) ตามหลักการสมดุลธาตุอาหารพืช
                       ซึ่ง inputs – outputs = 0 หรือ inputs = outputs หากผลต่างมีค่าเป็นบวกแสดงว่าธาตุอาหารที่
                       ใส่ลงไปมีปริมาณมากกว่าที่สูญหาย ในกรณีเช่นนี้จะท าให้มีธาตุอาหารเหลือสะสมอยู่ในดิน ซึ่งอาจ
                       เป็นผลดีส าหรับดินที่ต้องการยกระดับความอุดมสมบูรณ์ แต่ในกรณีที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์

                       เพียงพอและเหมาะสมต่อการผลิตพืชอยู่แล้ว การจัดการธาตุอาหารพืชที่ท าให้ inputs เหลืออยู่ใน
                       พื้นที่มากเกินไปเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและอาจท าให้ธาตุอาหารในดินมากเกินความต้องการ
                       ของพืชได้ ในทางกลับกันหากให้ค่าเป็นลบแสดงว่าธาตุอาหารที่สูญหายออกไปมีปริมาณมากกว่า ก็
                       จะเป็นผลให้ดินมีธาตุอาหารลดลง และหากปล่อยให้มีค่าติดลบไปเรื่อยๆ ศักยภาพในการผลิตพืช

                       ของดินก็จะลดน้อยถอยลง
                              ธาตุอาหารในพื้นที่ส่วนใหญ่สูญหายออกไปกับผลผลิตพืชเป็นหลัก ซึ่งมีปริมาณการสูญหาย
                       ของธาตุอาหารไปกับผลผลิตแตกต่างกันไปตามพืชแต่ละชนิด และสมบัติของดินก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง
                       ที่มีผลต่อการสูญหายของธาตุอาหารพืช เช่น ดินด่างเสี่ยงต่อการสูญหายของไนโตรเจนในรูปของ

                       ก๊าซแอมโมเนีย โดยพบว่าเมื่อค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเพิ่มขึ้นจาก 6 เป็น 7 และจาก 7 เป็น
                       8 จะมีแอมโมเนียเพิ่มขึ้นจาก 0.1 เป็น 1.0 เปอร์เซ็นต์ และจาก 10 เป็น 50 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ
                       (Freney et al., 1983 อ้างโดย Freney et al., 1998) และ Du Preez and Burger (1988) พบว่า

                       การใส่ปุ๋ยยูเรีย ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต และแอมโมเนียมซัลเฟตในดินร่วนเหนียว ท าให้ไนโตรเจน
                       จากปุ๋ยสูญหายไปในรูปของก๊าซแอมโมเนีย 26-47  19-43  และ 15-34  เปอร์เซ็นต์ของปริมาณ
                       ไนโตรเจนทั้งหมดในปุ๋ย ตามล าดับ และสูญหายมากขึ้นในดินเหนียว ในขณะที่พื้นที่ที่มีความลาดเท
                       สูงเสี่ยงต่อการสูญหายของธาตุอาหารไปโดยน้ าไหลบ่า (run-off)  หรือตะกอนดิน กอบเกียรติและ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18