Page 12 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจสอบดินภาคสนามสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ยในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                          4


                       ภาคเหนือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 1 และ 2 มีเนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้น จากการปลูกแทนถั่วเหลือง เนื่องจากพันธุ์
                       ถั่วเหลืองหายาก และมีราคาสูง ประกอบกับแรงงานเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองหายาก เกษตรกรจึงเปลี่ยนมา
                       ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งให้ผลตอบแทนดีกว่า ในจังหวัดเชียงราย พะเยา ล าปาง ล าพูน ตาก แพร่ น่าน

                       และพิษณุโลก ส่วนในจังหวัดสุโขทัยและเพชรบูรณ์ ลดเนื้อที่ไปปลูกอ้อยโรงงาน นอกจากนี้สวน
                       ยางพาราที่เคยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แซมปัจจุบันต้นยางพาราโตไม่สามารถปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้อีก
                       (สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2558)

                              พื้นที่ปลูกควรเป็นพื้นที่ดอนและน้ าไม่ท่วมขัง มีความลาดชันต่ า ถ้าดินมีค่าความเป็นกรดเป็น
                       ด่างต่ ากว่า 5.5  ควรหว่านด้วยปูนขาวอัตรา 200-400  กิโลกรัมต่อไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีในข้าวโพด พื้นที่ที่
                       เป็นดินเหนียวสีด า ให้ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 20-20-0 อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ สูตร 16-20-0 อัตรา 50
                       กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นหลุมพร้อมปลูก และใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 21-0-0  อัตรา 50  กิโลกรัมต่อไร่ หรือ สูตร

                       46-0-0  อัตรา 25  กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25  วัน พื้นที่ที่เป็นดินเหนียวสีแดง ให้ใช้
                       ปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นหลุมพร้อมปลูก และใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 21-0-0 อัตรา
                       30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ สูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน พื้นที่ที่
                       เป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย ให้ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร   16-16-8 หรือสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม

                       ต่อไร่ รองก้นหลุมพร้อมปลูก และใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก
                       20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ  การปลูกข้าวโพดในพื้นที่ที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงลาดชัน ดินร่วนเหนียว
                       ปนทราย ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 60–80 กิโลกรัมต่อไร่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548)
                              ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์แปซิฟิก 559  เป็นข้าวโพดลูกผสม ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์แม่ คือ

                       50068 และพันธุ์พ่อ คือ 50069 ทั้งสองพันธุ์เป็นพันธุ์แท้จากโครงการปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537
                       ของบริษัทแปซิฟิกเมล็ดพันธุ์ จ ากัด ข้าวโพดลูกผสมพันธุ์แปซิฟิก 559 ปลูกทดสอบผลผลิตครั้งแรกในปี
                       2555 โดยปลูกทดสอบจ านวน 7 แปลง แปลงละ 3 ซ้ า วางแผนการทดลองแบบ RCBD ในปี พ.ศ. 2556

                       ได้ท าการปลูกทดสอบผลผลิตจ านวน 115 แปลง โดยได้ศึกษาการผลิตเมล็ดพันธุ์ (Production
                       Research) และทดลองผลิตเมล็ดพันธุ์ในปี พ.ศ. 2557 และยื่นขอจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ เมื่อ
                       วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 ตามค าขอเลขที่ 01122558  ลักษณะส าคัญของข้าวโพดลูกผสมพันธุ์แปซิฟิก
                       559 คือ (ก) ลักษณะต้น ความสูงต้นวัดจากระดับคอดินถึงข้อใบธงมีค่าระหว่าง 176-225 เซนติเมตร
                       (ข) ลักษณะฝักจะมีความสูงฝัก วัดจากระดับผิวดินถึงข้อฝักบนสุด ระหว่าง 91-120 เซนติเมตร จ านวน

                       แถวเมล็ดค่อนข้างมาก (16 แถว) ชนิดของเมล็ดบริเวณกึ่งกลางฝักเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กึ่งหัวแข็ง และ
                       มีซังสีขาว (ค) ลักษณะเส้นไหมข้าวโพดพันธุ์แปซิฟิก 559  จะมีเส้นไหมสีเขียว จ านวนวันออกไหมเป็น
                       50 เปอร์เซ็นต์ ของจ านวนต้นทั้งหมด นับตั้งแต่ให้น้ าครั้งแรก เท่ากับหรือมากกว่า 66 วัน (ฤดูแล้ง) และ

                       ประมาณ 56-65  วัน (ฤดูฝน) (ง) รากของข้าวโพดจะเป็นระบบรากฝอย (fibrous  root  system)
                       นอกจากรากที่อยู่ใต้ดินแล้ว ยังมีรากยึดเหนี่ยว (brace  root) ซึ่งเกิดขึ้นรอบๆข้อที่อยู่ใกล้ผิวดิน  (จ)
                       ลักษณะช่อดอกตัวผู้ความยาวของก้านช่อดอกตัวผู้ที่โผล่พ้นฐานใบธง วัดจากฐานใบธงถึงโคนแขนง
                       ล่างสุดของช่อดอกตัวผู้สั้นมาก คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 เซนติเมตร ความยาวของช่อดอกตัวผู้วัดจาก

                       โคนแขนงล่างสุดถึงปลายช่อดอกตัวผู้ช่อกลาง ยาวมาก คือเท่ากับหรือมากกว่า 21 เซนติเมตร เปลือก
                       ดอกย่อยสีเขียว อับเรณูสีม่วง จ านวนวันที่นับตั้งแต่ให้น้ าครั้งแรก เท่ากับหรือมากกว่า 66 วัน (ฤดูแล้ง)
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17