Page 30 - แนวทางการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน







                                                             บทที่ 3


                                       แผนที่ ข้อมูล ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ที่ใช้ด าเนินการ



                     3.1 แผนที่และข้อมูลที่น ามาใช้วิเคราะห์และจัดท าแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่
                                แผนที่และข้อมูลทางแผนที่ที่น ามาใช้วิเคราะห์และจัดท าแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่

                     ของแต่ละจังหวัดนั้น เป็นข้อมูลที่รวบรวมมาจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมีรายละเอียด คุณลักษณะ
                     ข้อดี ข้อด้อยและข้อจ ากัดของการน าไปใช้งานที่แตกต่างกัน ผู้ปฏิบัติงานควรศึกษาและท าความเข้าใจข้อมูล

                     ที่น ามาใช้งานเสียก่อน เพื่อจะได้น าไปใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่เกิดความผิดพลาดในกระบวนการ
                     ท างานในขั้นตอนต่างๆ ส าหรับแผนที่และข้อมูลทางแผนที่ที่น ามาใช้ด าเนินการในครั้งนี้ ได้แก่

                               3.1.1 ข้อมูลความสูงภูมิประเทศ เป็นข้อมูลที่ใช้แสดงลักษณะความสูงต่ าของภูมิประเทศพื้นที่ใด

                     พื้นที่หนึ่งโดยการบันทึกค่าระดับของกลุ่มของจุดที่มีระยะห่างระหว่างจุดคงที่ ครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าว จัดเก็บ
                     ตามรูปแบบที่ก าหนดไว้ลงบนแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลขที่น ามาใช้ใน

                     โครงการนี้ เป็นข้อมูลที่จัดท าขึ้นภายใต้โครงการจัดท าแผนที่เพื่อการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สิน

                     ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ส าคัญที่น ามาใช้ในการวิเคราะห์และจ าแนก
                     ความลาดชันของพื้นที่ ได้แก่

                                    1) ข้อมูลแบบจ าลองระดับสูงเชิงเลข (Digital Elevation  Model:  DEM)  มาตราส่วน
                     1: 4,000 ซึ่งเป็นข้อมูลความสูงภูมิประเทศที่ได้จากการผลิตแบบจ าลองระดับสูงจากภาพคู่ซ้อนสามมิติที่

                     อยู่ติดกันที่ละคู่ภาพโดยการรังวัดด้วยเครื่องร่างแผนที่สามมิติประเภทเชิงเลข (Digital  Photogrammetric
                     Stereo  Plotter  ) โดยท าการรังวัดจุดความสูงโดยวิธีสุ่มให้กระจายไปทั่วพื้นผิวภูมิประเทศโดยมีช่วงห่าง

                     ระหว่างจุดไม่เกิน 5 เมตร ซึ่งในพื้นที่ราบหรือมีความลาดชันน้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ จุดความสูงที่ท าการ

                     รังวัดจะต้องมีความคลาดเคลื่อนที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ไม่เกิน 2 เมตร และ พื้นที่เนินเขา
                     หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันมากว่า 35 เปอร์เซ็นต์ จุดความสูงที่ท าการรังวัดจะต้องมีความคลาดเคลื่อนที่

                     ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ไม่เกิน 4 เมตร  ส าหรับบริเวณที่มีความสูงมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง

                     ฉับพลัน หรือมีความสูงเด่นชัด เช่น ยอดเนิน ยอดเขา สันเขา ร่องน้ า สันเขื่อน ถนนที่มีการยกระดับสูงจาก
                     พื้นดินเดิม ฯลฯ ต้องท าการรังวัดเส้นหยุด (Break line) และจุดระดับความสูง (Spot height) ที่มีระยะทาง

                     ที่ปรากฏในภูมิประเทศตั้งแต่ 40 เมตรขึ้นไปในทุกๆ ระยะ 5 เมตรและ/หรือทุกจุดหักมุมของแนวเส้น
                     ในภาพจ าลองสามมิติ (Stereo  Model) จากนั้นน าข้อมูลดังกล่าวมาด าเนินการสร้างแบบจ าลองระดับสูง

                     เชิงเลขในรูปแบบของราสเตอร์ โดยวิธีการประมาณค่าความสูงด้วยวิธี Inverse  Distance  Weighting
                     (IDW) ระยะห่างของราสเตอร์เท่ากับ 5 เมตร โดยจัดเก็บลงบนสื่อบันทึกข้อมูลราสเตอร์ตามมาตรฐานของ

                     ERDAS  IMAGINE  File  Format  (img)  ในรูปแบบของจุดระดับเป็นแถวและคอลัมน์ (Row,  Column)

                     ความละเอียดจุดภาพเท่ากับ 5 เมตร โดยแต่ละระวางมีขนาดเท่ากับ 2x2 ตารางกิโลเมตร ขอบเขตระวาง
                     และการก าหนดหมายเลขระวางมีความสอดคล้องและเข้ากันได้กับแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี มาตราส่วน

                     1:4,000 ดังภาพที่ 3-1
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35