Page 114 - การจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 114

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           ๙


                  ค่อนข้างหยาบที่รู้จักกันดีก็คือหินแกรนิตซึ่งมีความแข็งแกร่งสามารถน ามาใช้เป็นหินประดับได้ และประเภทที่สอง
                  คือ หินภูเขาไฟเป็นหินที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟที่พุขึ้นมาเย็นตัวบนผิวโลกหินชนิดนี้จะมีเนื้อละเอียด

                  หรือเนียนเป็นเนื้อเดียวกันหมด พบมากบริเวณตอนบนของอ าเภอหล่มเก่า บริเวณด้านทิศตะวันตกของอ าเภอเมือง

                  อ าเภอวิเชียรบุรี และบริเวณด้านทิศตะวันออก ทิศใต้ และด้านทิศตะวันตกของอ าเภอศรีเทพ ส าหรับดินที่ผุพัง
                  มาจากหินภูเขาไฟจะอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุที่จ าเป็นต่อพืชจึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมส าหรับการเกษตรกรรมมาก

                  โดยเฉพาะประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตป่าร้อนชื้น จึงท าให้หินอัคนีจึงถูกกระบวนการผุพังได้ง่ายเกิดชั้นดินหนา

                  สะสมตัวอยู่บนยอดเขาเมื่อมีฝนตกเป็นจ านวนมากดินเหล่านี้จะไหลถล่มลงมาดังนั้นพื้นที่ที่อยู่ใกล้ภูเขาหินอัคนี

                  จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มมาก
                             2.2.4 สภาพภูมิอากาศ จากข้อมูลสภาพอากาศจังหวัดเพชรบูรณ์ ของศูนย์ภูมิอากาศ ส านักพัฒนา
                  อุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งได้รวบรวมสถิติข้อมูลภูมิอากาศตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2494-2559 และจัดท าไว้เมื่อ

                  เดือนมิถุนายน 2560 พบว่าสภาพภูมิอากาศของจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นดังนี้
                                   1) ฤดูกาล สภาพอากาศของจังหวัดเพชรบูรณ์ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจ า

                  ฤดูกาล 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะพัดพามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีน ปกคลุม

                  ประเทศไทยในช่วงกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ท าให้จังหวัดเพชรบูรณ์มีอากาศหนาวเย็นและ
                  แห้งโดยทั่วไป และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดพามวลอากาศชื้นจากทะเลและมหาสมุทรปกคลุมประเทศ

                  ไทยในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งท าให้จังหวัดเพชรบูรณ์ มีฝนตก ในช่วงเวลาดังกล่าว

                  ฤดูกาลของจังหวัดจังหวัดเพชรบูรณ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้
                                      1.1) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงเวลาที่

                  ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย พัดพาไอน้ าและความชื้นเข้ามายังประเทศไทย ร่องความกดอากาศ
                  ต่ าพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ท าให้มีฝนชุกทั่วไป โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกมากที่สุด

                                      1.2) ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงเวลาที่
                  ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดพามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทย ท าให้มี

                  อากาศเย็นทั่วไปโดยในบางพื้นที่จะมีอากาศหนาวอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 8–15.9 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะ

                  บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัดอุณหภูมิต่ ากว่า 8 องศาเซลเซียส ระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม
                                      1.3) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่มี

                  อากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไปอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 35–39.9 องศาเซลเซียส โดยบางแห่งมีอากาศร้อนจัด

                  อุณหภูมิมากกว่า 40 องศาเซลเซียส โดยเดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุด
                                   2) อุณหภูมิ จังหวัดเพชรบูรณ์ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศ โดยมีลักษณะภูมิประเทศ

                  ล้อมรอบด้วยภูเขาทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก และด้านทิศตะวันตก ท าให้มีสภาพอากาศ
                  มีความแตกต่างกันมากในแต่ละฤดูกาล ซึ่งมีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อนและหนาวจัดในฤดูหนาวโดยเฉพาะใน

                  พื้นที่อ าเภอน้ าหนาว อ าเภอเขาค้อ และอ าเภอหล่มสักที่เป็นพื้นที่ภูเขาสูง อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 27.42 องศา
                  เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35.45 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิต่ าสุดเฉลี่ย

                  14.66 องศาเซลเซียส
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119