Page 112 - การจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 112

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           ๗


                             2.2.2  สภาพภูมิประเทศ จังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนใหญ่มีลักษณะทางกายภาพเป็นพื้นที่ภูเขาสูง
                  และพื้นที่ราบลุ่มแบบท้องกระทะ ประกอบด้วย เนินเขา ป่าไม้ และที่ราบเป็นตอน ๆ สลับกันไป พื้นที่มี

                  ลักษณะลาดเทจากบริเวณตอนเหนือลงมาบริเวณตอนใต้ของจังหวัด โดยพื้นที่ทางตอนเหนือเป็นทิวเขาสูง

                  ของเทือกเขาเพชรบูรณ์สลับซับซ้อนเป็นสันยาวต่อเนื่องกัน ส่วนบริเวณตอนกลางลงมาถึงบริเวณพื้นที่ตอนใต้
                  ของจังหวัด เป็นพื้นที่เกือบราบและที่ราบ มีเทือกเขาขนาบกันไปทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า มีแม่น้ า

                  ป่าสักเป็นแม่น้ าสายส าคัญ ไหลผ่านพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ ยาวประมาณ 350

                  กิโลเมตร มีต้นก าเนิดมาจากภูเขาผาลาจังหวัดเลย ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ไปสู่จังหวัดภาคกลาง ได้แก่
                  จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงสู่แม่น้ าเจ้าพระยา ส่งผลให้พื้นที่มี

                  ทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชท าการเกษตร รวมทั้งสภาพภูมิประเทศ
                  ส่งเสริมปัจจัยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังภาพประกอบที่ 2-2


































                  ภาพประกอบที่ 2-2  จุดชมวิวเขาค้อ ต าบลเขาค้อ อ าเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์


                             2.2.3  ลักษณะทางธรณีวิทยา จากการศึกษาข้อมูลลักษณะทางธรณีวิทยาของจังหวัดเพชรบูรณ์
                  ซึ่งกรมทรัพยากรธรณีจัดท าไว้เมื่อ ปี พ.ศ. 2552 พบว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ตั้งอยู่บริเวณขอบที่ราบสูงโคราช

                  และเป็นส่วนหนึ่งของแนวคดโค้งเลย (Loie Fold Belt) จึงท าให้จังหวัดเพชรบูรณ์มีลักษณะทางธรณี

                  ที่หลากหลาย สามารถแบ่งตามลักษณะของหินและยุคของหิน ได้ดังนี้
                                   1) ตะกอนยุคควอเทอร์นารี โดยส่วนใหญ่จะเป็นตะกอนร่วน และตะกอนกึ่งแข็งตัว สะสมตัว

                  อยู่ตามแนวลุ่มน้ า แม่น้ าและที่ราบทั่วไป ปรากฏให้เห็นเป็นลักษณะของเนินและที่ลุ่ม ประกอบด้วยหน่วย

                  ตะกอนย่อยชั้นตะพักล าน้ า ลักษณะเป็นเนินเตี้ย ๆ ไม่ต่อเนื่องกัน มีระดับความสูงของเนินใกล้เคียงกันขึ้นอยู่กับ
                  ชั้นลูกรัง บริเวณที่เป็นเนินลูกรังมักจะมีความสูงของพื้นที่ระหว่าง 130-190 เมตร โดยมีชั้นกรวดและทราย
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117