Page 113 - การจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 113

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           ๘


                  สลับกัน พบในบริเวณฝั่งตะวันตกและตะวันออกของแอ่งเพชรบูรณ์ และหน่วยตะกอนย่อยชั้นตะกอนลุ่มน้ า
                  มีลักษณะของตะกอนที่มาจากการกัดเซาะของร่องน้ าตามภูเขา และตะกอนที่เกิดจากการไหลบ่าท่วมล้นล าน้ า

                  สายส าคัญ เช่น แม่น้ าป่าสัก ซึ่งตะกอนส่วนใหญ่จะเป็นทรายปนโคลน หรือทรายเม็ดละเอียด วางอยู่บน

                  ตะกอนหยาบและชั้นหินเดิม พบมากในบริเวณตอนกลางของจังหวัดตั้งแต่ทางตอนบนลงมาทางด้านล่างของจังหวัด
                  ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกือบราบและที่ราบลุ่มแม่น้ า บริเวณพื้นที่บางส่วนของ อ าเภอหล่มเก่า อ าเภอหล่มสัก

                  อ าเภอเมือง อ าเภอหนองไผ่ อ าเภอบึงสามพัน อ าเภอวิเชียรบุรี และอ าเภอศรีเทพ

                                   2) ยุคหินครีเทเซีย ประกอบด้วยหินทราย สีน้ าตาลแดง เนื้อละเอียด หินทรายแป้ง
                  สีน้ าตาลแดง หินโคลนสีน้ าตาลแดงมีก้อนปูนฝังในเนื้อหิน หินทรายปนกรวด สีเทาปนขาว ขนาดเม็ดปานกลาง

                  ถึงหยาบและหินกรวดมน สีน้ าตาลแกมเหลือง เทา ส้มอ่อน ชมพู และขาว นอกจังนั้นยังพบเม็ดปูน เม็ดซิลิกา
                  พบทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด ได้แก่ บริเวณพื้นที่ด้านทิศตะวันตกของอ าเภอหล่มเก่าและอ าเภอเขาค้อ

                                   3) หินยุคจูแรสสิก ประกอบด้วย หินทราย หินทรายปนกรวด และหินกรวดมนมีลักษณะ
                  แข็งทนทานต่อการผุพัง จึงแสดงลักษณะเป็นสันเขาซึ่งไม่เท่ากันทั้งสองข้างโดยจะมีด้านที่มีความลาดชัน

                  มากกว่าและด้านที่มีความลาดชันต่ ากว่า หินชุดนี้อยู่ในหมวดหินพระวิหาร กลุ่มหินโคราชในชั้นหินทรายแป้ง

                  มักจะพบแผ่นไมก้าอยู่ด้วย หินชุดนี้วางตัวแบบไม่ต่อเนื่องกับหินที่มีอายุแก่กว่าหินแสดงลักษณะรอยชั้นขวาง
                  ซึ่งบ่งถึงการตกตะกอนโดยแม่น้ าเป็นตัวพัดพา หินชุดนี้อยู่ในหมวดหินน้ าพองและหมวดหินภูกระดึง พบใน

                  บริเวณเทือกเขาพื้นที่รอยต่อระหว่างอ าเภอเขาค้อ กับอ าเภอหล่มเก่า อ าเภอหล่มสัก และอ าเภอเมือง

                                   4) หินยุคไทรแอสซิก ประกอบด้วย หินกรวดมน หินทราย หินทรายเนื้อปูน หินสีแดง และ
                  หินทรายแป้ง โดยแผ่กระจายตัวบริเวณทางตอนเหนือวางตัวต่อเนื่องลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ พบมาก

                  บริเวณทางตอนเหนือของอ าเภอหล่มเก่า ทางด้านตะวันออกของอ าเภอน้ าหนาว อ าเภอหล่มสัก และ
                  ด้านตะวันตกของอ าเภอวิเชียรบุรี

                                   5) หินยุคเพอร์เมียน โผล่ให้เห็นตลอดแนวเทือกเขาเลย-เพชรบูรณ์จากเหนือจรดใต้ หินยุค
                  เพอร์เมียนในบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยหินปูน หินดินดาน หินทราย และหินทรายแป้งเป็นส่วนใหญ่

                  บางแห่งมีหินโดโลไมต์และหินปูนเนื้อปูนโดโลไมต์ หินตะกอนเนื้อประสมและหินคาร์บอเนตสลับกันมีลักษณะ

                  เป็นเนื้อเดียวกันตลอด มีความหนามากและแผ่กระจายตัวเป็นลานคาร์บอเนต พบแผ่กระจายตลอดแนว
                  เทือกเขาทางทิศตะวันออกเป็นทิวเขาจากทางเหนือลงมาทางใต้ บริเวณพื้นที่บางส่วนของอ าเภอหล่มเก่า

                  อ าเภอหล่มสัก อ าเภอเมือง อ าเภอหนองไผ่ อ าเภอวิเชียรบุรี และอ าเภอศรีเทพ

                                   6) หินยุคคาร์บอนิเฟอรัส ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินดินดาน หินทราย หินทรายเนื้อปนกรวด
                  หินทรายแป้ง และถ่านหิน นอกจากนั้นยังมีหินปูนสีเทาและเทาด าเป็นเลนส์แทรกในชั้นหินดินดาน พบมาก

                  ทางด้านทิศตะวันตกบริเวณตอนกลางทอดยาวลงมาถึงตอนล่างของจังหวัด บริเวณพื้นที่บางส่วนของอ าเภอวังโป่ง
                  อ าเภอชนแดน อ าเภอบึงสามพัน และอ าเภอวิเชียรบุรี

                                    7) หินอัคนีที่ พบกระจายตัวอยู่ทั่วไปในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ หินบะซอลต์
                  หินโรโอไรต์ (หินยุคเทอร์เชียรี่) หินไบโอไทต์แกรนิต (ยุคหินไทรแอสซิก) หินทัพฟ์ (ยุคหินไทรแอสซิกถึงเพอร์เมียน)

                  หินแอนดิไซต์และหินไรโอไลต์ (ยุคหินเพอร์เมียน) โดยหินอัคนีแบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 2 ชนิด ประเภทแรก

                  คือหินอัคนีแทรกซอน ซึ่งเป็นหินอัคนีที่เกิดอยู่ในระดับลึกโดยการตกผลึกจากหินหนืด มีลักษณะเนื้อหยาบหรือ
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118