Page 116 - การจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 116

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          ๑๑


                  2.4 ทรัพยากรธรรมชาติ
                             2.4.1 ทรัพยากรดิน จังหวัดเพชรบูรณ์จ าแนกลักษณะดินตามลักษณะพื้นที่ ออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

                                    1)  กลุ่มดินที่ลุ่ม หรือเรียกว่า “ดินนา” เป็นดินที่เกิดในบริเวณพื้นที่ต่ า สภาพพื้นที่

                  ราบเรียบถึงค่อนข้างราบ พบเป็นบริเวณกว้างในภาคกลางและตามที่ราบลุ่มแม่น้ าต่าง ๆ
                                   2)  กลุ่มดินที่ดอน หรือเรียกว่า “ดินไร่” เป็นดินที่พบอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชัน

                  สภาพพื้นที่เป็นที่ลาดเชิงเขาหรือเป็นลูกคลื่น มีการระบายน้ าดี ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่ ไม้ผล

                  หรือไม้ยืนต้น
                                    3) กลุ่มดินตื้น ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 10 ของพื้นที่จังหวัด เป็นดินที่มีความหนาตั้งแต่

                  25-50 เซนติเมตร นับจากผิวหน้าดินใช้ประโยชน์ในการท าพืชไร่ และไม้ผล
                                    4) กลุ่มดินภูเขา ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 40 ของพื้นที่จังหวัด ส่วนใหญ่ใช้ปลูกไม้ผล

                                    5)  กลุ่มดินที่มีลักษณะพิเศษ เป็นดินที่ราบริมแม่น้ าหรือลานตะพักล าน้ า ประกอบด้วย
                  ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงระดับสูงเหมาะสมต่อการเกษตร และดินที่พบบนที่ราบลุ่มแม่น้ าและ

                  ลานตะพักของแม่น้ าป่าสัก เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ระดับต่ าและปานกลาง

                             กรมพัฒนาที่ดิน ได้แบ่งกลุ่มชุดดินประเทศไทยเป็น 62 กลุ่มชุดดิน โดยจังหวัดเพชรบูรณ์ มี 31
                  กลุ่มชุดดิน (ภาคผนวก 2) ซึ่งจากรายงานการส ารวจทรัพยากรดินจังหวัดเพชรบูรณ์ข้อมูลระดับชุดดิน มาตราส่วน

                  1: 25,000 โดยกองส ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน ซึ่งได้ท าการส ารวจดินและจัดท าข้อมูลชุดดินเมื่อ ปี พ.ศ.2558

                  พบว่า จังหวัดเพชรบูรณ์มีดินทั้งหมด 44 ชุดดิน ได้แก่ ตะกอนน้ าพาเชิงซ้อน ชุดดินหล่มสัก ชุดดินหล่มเก่า
                  ชุดดินแม่ขาน ชุดดินท่าพล ชุดดินบ้านโภชน์ ชุดดินชนแดน ชุดดินเฉียงลับ ชุดดินโคกส าโรง ชุดดินศรีเทพ

                  ชุดดินวัฒนา ชุดดินบ้านกลาง ชุดดินบ้านไร่ ชุดดินบ่อไทย ชุดดินชัยบาดาล ชุดดินเชียงของ ชุดดินเชียงคาน
                  ชุดดินดงยางเอน ชุดดินห้างฉัตร ชุดดินหินซ้อน ชุดดินแก่งคอย ชุดดินกลางดง ชุดดินโคกปรือ ชุดดินล าพญากลาง

                  ชุดดินล านารายณ์ ชุดดินลานสัก ชุดดินหมวกเหล็ก ชุดดินน้ าเลน ชุดดินน้ าชุน ชุดดินน้ าดุก ชุดดินหนองมด
                  ชุดดินป่าสัก ชุดดินพิชัย ชุดดินเพชรบูรณ์ ชุดดินไพสาลี ชุดดินภูพาน ชุดดินสมอทอด ชุดดินสบปราบ ชุดดิน

                  ทับเสลา ชุดดินตาคลี ชุดดินวิเชียรบุรี ชุดดินวังชมพู ชุดดินวังน้ าเขียว และชุดดินวังสะพุง

                             2.4.2 ทรัพยากรน้ า จังหวัดเพชรบูรณ์มีทรัพยากรน้ าค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากลักษณะ
                  ภูมิประเทศมีภูเขาล้อมรอบทั้งทางด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยบริเวณพื้นที่ตอนกลางของจังหวัด

                  ตั้งแต่บริเวณตอนบนเรื่อยลงมาถึงบริเวณตอนล่างมีลักษณะเป็นที่ราบและราบลุ่มโดยเป็นพื้นที่รับน้ าที่ไหลมา

                  จากทางตอนใต้ของจังหวัดพิษณุโลก และน้ าที่ไหลลงมาจากเทือกเขาทั้ง 3 ด้านจึงท าให้มีล าห้วย และแหล่งน้ า
                  กระจายตัวอยู่เป็นจ านวนมาก แหล่งน้ าธรรมชาติที่ส าคัญได้แก่ แม่น้ าป่าสัก ซึ่งมีต้นก าเนิดมาจากภูเขาผาลา

                  ในจังหวัดเลย ไหลผ่านจังหวัดพิษณุโลกเข้าสู่จังหวัดเพชรบูรณ์ ผ่านอ าเภอหล่มเก่า อ าเภอหล่มสัก อ าเภอเมือง
                  อ าเภอหนองไผ่ อ าเภอบึงสามพัน อ าเภอวิเชียรบุรี และอ าเภอศรีเทพ คิดเป็นระยะทางประมาณ 350

                  กิโลเมตร และล าน้ าเข็ก ห้วยขอนแก่น ห้วยน้ าก้อ ห้วยน้ าชุน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ าธรรมชาติที่ได้รับ
                  การพัฒนาและก่อสร้างอ่างเก็บน้ าขนาดกลาง ขนาดเล็ก และฝายน้ าล้นภายใต้โครงการชลประทานและ

                  โครงการพระราชด าริ อีกเป็นจ านวนมาก ได้แก่ อ่างเก็บน้ าห้วยป่าแดง อ่างเก็บน้ าห้วยป่าเลา อ่างเก็บน้ าห้วย

                  น้ าก้อ อ่างเก็บน้ าห้วยใหญ่ อ่างเก็บน้ าห้วยนา อ่างเก็บน้ าหนองแม่นา เป็นต้น
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121