Page 53 - การจัดการระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยโป่ง ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิงตอนบน ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำปิง บ้านทุ่งดินดำ หมู 6 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
P. 53

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         42






                       เปรียบเทียบกับ 222.8  ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ต่อปี)  สามารถลดปริมาณการสูญเสียดินได้ 82  และ 94

                       เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการที่ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า (ปริมาณการสูญเสียดิน 4.8
                       และ 1.5  ตันต่อไร่ต่อปี เปรียบเทียบกับ 27.4  ตันต่อไร่ต่อปี)  และผลผลิตของข้าวไร่ที่ปลูกในพื้นที่ที่มี
                       การจัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าทั้ง 2  มาตรการ ไม่แตกต่างกันกับวิธีการที่ไม่มีมาตรการอนุรักษ์
                       ดินและน้ า ถึงแม้จะมีการสูญเสียพื้นที่ไปบางส่วนในการจัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า และจากการ

                       เปรียบเทียบมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า โดยใช้แถบของกระถินผสมมะแฮะ และคูรับน้ าขอบเขา พบว่า
                       ปริมาณน้ าไหลบ่า ปริมาณการสูญเสียดิน และผลผลิตของข้าวไร่ จากทั้งสองมาตรการไม่แตกต่างกัน
                       (ไชยสิทธิ์ และ อุทิศ, 2538)
                              การศึกษาเปรียบเทียบมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าบนพื้นที่ลาดชันสูง ซึ่งได้ด าเนินการตั้งแต่ปี

                       พ.ศ. 2544-2546  บ้านบวกจั่น ต าบลสะเมิงใต้  อ าเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามาตรการอนุรักษ์
                       ดินและน้ า โดยการจัดท าขั้นบันไดไม้ผลแบบระดับ (Orchard hillside terrace) การจัดท าคูรับน้ าขอบ
                       เขาแบบระดับ (Level  hillside  ditch)  การจัดท าคูรับน้ าขอบเขาแบบลดระดับ (Graded  hillside
                       ditch)  และการจัดท าแถบหญ้าแฝก (Vetiver  grass  strip)  สามารถลดการสูญเสียดินได้ 91  91  69

                       และ 58  เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการที่ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า (ปริมาณการสูญเสีย
                       ดิน 220 237 778 และ 1,053 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เปรียบเทียบกับ 2,502 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี) และ
                       ผลผลิตของข้าวโพดที่ปลูกในพื้นที่มีการจัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า ในวิธีการต่างๆ จะไม่แตกต่าง

                       กันทางสถิติ ถึงแม้ว่ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่ท าการศึกษา จะท าให้มีการสูญเสียพื้นที่ 13  ถึง 17
                       เปอร์เซ็นต์ และจะมีผลผลิตข้าวโพดน้อยกว่าวิธีการที่ไม่มี มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า แต่จะมีผลผลิต
                       น้อยกว่าเพียง 7  ถึง 11  เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น การจัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า จะมีผลดีต่อการใช้
                       ประโยชน์ที่ดิน ต่อเนื่องต่อไปในระยะยาว นอกจากนั้น การจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า โดยเฉพาะ
                       มาตรการวิธีกล จะสามารถใช้พื้นที่ที่สูญเสียไปจากการท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า น ามาปลูกไม้ผล

                       อยู่บนระบบอนุรักษ์ฯได้อีก และการเจริญเติบโตของไม้ผล (ต้นพลับ) ด้านต่าง ๆจะดีกว่าเมื่อ
                       เปรียบเทียบกับวิธีการที่ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า การปลูกพืชไร่หรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ดังเช่น
                       พืชผักและไม้ผลในพื้นที่ที่ได้จัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า การปลูกพืชที่มีอายุสั้นและมีผลตอบแทน

                       ที่ดีและสามารถปลูกได้หลายครั้งต่อปี ประกอบกับการปลูกไม้ผลที่สามารถให้ผลผลิตได้รวดเร็วในระยะ
                       สั้นและเป็นไม้ผลที่สามารถดูแลรักษาได้ง่าย มีความทนทานมาปลูกเสริมในระบบอนุรักษ์ดินและน้ าจะ
                       ท าให้มีผลตอบแทนต่อพื้นที่ที่ดีขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (อุทิศและสวัสดี, 2547)
                              3.3 ความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                              ความอุดมสมบูรณ์ของดิน (Soil fertility) คือความสามารถของดินที่จะให้ธาตุอาหารที่จ าเป็น
                       ต่าง ๆ ในรูปที่เป็นประโยชน์แก่พืชในปริมาณที่เพียงพอมีสัดส่วนเหมาะสมและสมดุลต่อความต้องการ
                       ของพืชนั้น ๆ ความอุดมสมบูรณ์ของดินจึงเป็นสถานภาพของดิน ที่ส าคัญต่อการผลิตพืช เนื่องจากมี
                       ผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชเป็นอย่างยิ่ง
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58