Page 51 - การจัดการระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยโป่ง ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิงตอนบน ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำปิง บ้านทุ่งดินดำ หมู 6 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
P. 51

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         40






                       เกิดการพังทลายของดินลักษณะนี้ จะสังเกตไม่ค่อยเห็นแต่เมื่อเกิดนาน ๆ เข้าก็จะสังเกตเห็นได้จากการ

                       ที่มีหินและรากพืชโผล่บนพื้นผิวดินหรือระดับผิวดินที่เสารั้วต่ าลงมา การชะล้างพังทลายแบบนี้ลึก 1
                       เซนติเมตร จะสูญเสียดินประมาณ 24 ตันต่อไร่  (ดิน 1 ไร่ ลึก 15 เซ็นติเมตร หนักประมาณ 360 ตัน)
                              2. การชะล้างพังทลายแบบริ้ว (Rill erosion) เป็นการพังทลายของดินที่เกิดเป็นร่องริ้วเล็ก ๆ
                       กระจายไปทั่วพื้นที่ความลึกไม่เกิน 8 เซนติเมตร ท าให้ผิวดินขรุขระ แต่เมื่อมีการไถพรวนร่องริ้วบริเวณ

                       นี้ก็จะหายไป มักเกิดในพื้นที่ที่มีความลาดเทน้อย มีความลาดเทไม่สม่ าเสมอกันตลอดและตามร่องที่
                       ปลูกพืชตามแนวลาดเท
                              3. การชะล้างพังทลายแบบเป็นแนวร่องขนาดใหญ่ (Gully erosion) เกิดในพื้นที่ที่มีความลาด
                       เทมากและมีระยะของความลาดเทยาวหรือพื้นที่ที่ปลูกพืชตามแนวขึ้นลงของความลาดเทเริ่มแรกจะเกิด

                       การกัดเซาะของร่องน้ าเป็นร่องขนาดเล็ก เมื่อไม่มีการแก้ไขก็จะกลายเป็นร่องน้ าขนาดใหญ่และลึก ใน
                       พื้นที่ที่เป็นดินทรายจะเกิดการชะล้างพังทลายในลักษณะนี้ได้เร็วมากเมื่อ เกิดฝนตกหนัก
                              4.  การชะล้างพังทลายของดินริมฝั่งแม่น้ า (Stream  erosion)  เกิดจากการกัดเซาะของน้ าใน
                       แม่น้ าล าธารหรือแหล่งน้ าต่างๆ ท าให้ดินริมฝั่งแม่น้ าพังทลายและถูกพัดพาไป แต่ละปีจะเกิดการ

                       พังทลายของดินในลักษณะนี้เป็นปริมาณมาก ดินที่ถูกพัดพาไปจะท าให้ล าน้ าและล าธารตื้นเขิน ล าน้ า
                       เกิดการเปลี่ยนทิศทางไหล ท าให้เกิดน้ าไหลบ่าท่วมชายฝั่ง เป็นต้น (สมเจตน์, 2522)
                              ผลกระทบจากการชะล้างพังทลายของดินจะก่อให้เกิดความสูญเสียดังนี้

                              1. ท าให้โครงสร้างของดินถูกท าลาย เมื่อเม็ดฝนตกกระทบผิวดิน พลังงานในเม็ดฝนจะ
                       ก่อให้เกิดแรงตกกระแทก ท าให้อนุภาคของดินที่ผิวหน้าดินแตกกระจาย และกระเด็นออกไปจากพื้นที่
                       ส่วนดินที่อยู่ใต้ผิวดินลงไปเล็กน้อยจะได้รับแรงกระแทก ท าให้เนื้อดินแน่นทึบ ปริมาณน้ าจะซึมผ่านชั้น
                       ดินได้น้อย
                              2. ท าให้เกิดการสูญเสียหน้าดิน เกิดขึ้นจากเม็ดฝนที่ตกกระทบผิวดิน ท าให้อนุภาคของดินที่จับ

                       ตัวเป็นก้อนแตกกระจายเป็นอนุภาคเล็กๆที่มีน้ าหนักเบาเมื่อไม่สามารถซึมลงผ่านชั้นดินได้จึงสะสมเป็น
                       น้ าไหลบ่าหน้าดิน พัดพาเอาอนุภาคที่แตกกระจายเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ได้ง่ายขึ้น ซึ่งการเคลื่อนย้าย
                       ดินออกจากพื้นที่นี้จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อพื้นที่ดินเดิม

                              3.  การสูญเสียธาตุอาหารในดินและท าให้ผลผลิตลดลง การชะล้างพังทลายโดยน้ าเป็น
                       กระบวนการหนึ่งที่ท าให้ดินเสื่อมโทรมเนื่องจากมีการพัดพาดินชั้นบนซึ่งมีปริมาณอินทรียวัตถุที่จ าเป็น
                       ต่อการเจริญเติบโตของพืชออกไปจากพื้นที่เดิม นอกจากนี้ยังมีผลท าให้การซึมน้ าและการอุ้มน้ าของดิน
                       ลดลงด้วย จึงเป็นสาเหตุให้ผลผลิตของพืชในพื้นที่นั้น ๆ ลดลงตามไปด้วย

                              4. ท าให้ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป การชะล้างพังทลายของดินเกิดขึ้นจาก
                       ผิวดินได้รับน้ ามากเกินความสามารถในการซึมน้ าของดิน จนเกิดน้ าไหลบ่าและพัดพาเอาอนุภาคของดิน
                       ออกไปจากพื้นที่เดิม ท าให้ผิวดินเกิดเป็นร่องขนาดเล็กหรือใหญ่แตกต่างกันตามความรุนแรงของ
                       กระแสน้ า และเมื่อพื้นที่ในบริเวณนั้น ๆ ได้รับอิทธิพลของการชะล้างมากขึ้น มีผลท าให้พื้นที่ในบริเวณ
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56