Page 12 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         4







                       ของต้นมหาปราบผสมขมิ้นชัน ทาบริเวณที่เกิดโรคทุกๆ วัน จนแผลแห้งและหายขาด จะช่วยสมาน
                       แผล และช่วยควบคุมเชื้อได้
                                   2) การเก็บข้อมูล
                                      (1) เก็บตัวอย่างดินแบบ composite sample เพื่อส่งวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของ

                       ดินก่อนและหลังด่าเนินงาน โดยเก็บก่อนด่าเนินงานในปี 2557  จ่านวน 1  ครั้ง และเก็บหลังการเก็บ
                       เกี่ยวผลผลิตทุเรียนทุกปีๆ ละ 1  ครั้ง ตั้งแต่ปี 2558  ถึงปี 2560 เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง
                       สมบัติทางเคมีของดิน วิธีการเก็บ คือ ขุดหลุมเป็นรูปตัววี ลึกประมาณ 15 เซนติเมตรจากผิวดิน แซะ
                       ด้านข้างของหลุมหนาประมาณ 1.3-2.5 เซนติเมตร ขนานลงไปตามหน้าดินที่ขุดไว้ลึกถึงก้นหลุม ตัก

                       ดินออกเหลือไว้แต่ดินตรงกลางกว้างประมาณ 2.5-5.0 เซนติเมตร เก็บดินใส่ถุงพลาสติก ส่งวิเคราะห์
                       ที่กลุ่มวิเคราะห์ดิน ส่านักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 สมบัติทางเคมีของดินที่ตรวจวิเคราะห์ ได้แก่ ปริมาณ
                       อินทรียวัตถุในดิน (Walkley and Black) ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH ดิน:น้่า=1:1) ปริมาณ
                       ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (วิธีการสกัดด้วยน้่ายา DA ในปี 2557  และ Bray  II ในปี 2558-2560)  และ

                       ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (วิธีการสกัดด้วยน้่ายา DA ในปี 2557 และ NH4OAc pH 7.0 ใน
                       ปี 2558-2560) (ภาพภาคผนวกที่ 2)
                                      (2) การเก็บข้อมูลปริมาณผลผลิตทุเรียนพันธุ์หมอนทองในแปลง เริ่มเก็บตั้งแต่

                       ก่อนการด่าเนินงานในปี 2557 และเก็บข้อมูลผลผลิตหลังการด่าเนินงานในปี 2558 ถึง ปี 2560 เพื่อ
                       เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตรายปี การเก็บข้อมูลปริมาณผลผลิตจะเก็บโดยการชั่งและบันทึกน้่าหนัก
                       ทั้งแปลง
                                      (3) การเก็บข้อมูลผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ โดยการเก็บข้อมูลรายการค่าใช้จ่าย
                       ต่างๆ ที่ด่าเนินการ เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในแต่ละปี การเก็บข้อมูลก่อน

                       การด่าเนินงานในปี 2557 ใช้วิธีการสัมภาษณ์เกษตรกรเจ้าของแปลง ส่วนข้อมูลหลังการด่าเนินงาน
                       จะเก็บจากบัญชีและตารางค่าใช้จ่ายทั้งปีร่วมกับเจ้าของแปลง ตั้งแต่ปี 2558 ถึง ปี 2560
                                   3) การวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูล

                                      (1) วิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลสมบัติทางเคมีของดินในแปลงก่อนการ
                       ด่าเนินงานในปี 2557 และหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ปี 2558 ถึง ปี 2560
                                      (2) วิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลปริมาณผลผลิตทุเรียนพันธุ์หมอนทองเป็นราย
                       ปี  ตั้งแต่ปี 2557  ถึงปี 2560  และน่าไปเปรียบเทียบกับแปลงเกษตรเคมีข้างเคียงซึ่งได้จากการ

                       สัมภาษณ์เกษตรกร
                                      (3) วิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเป็นรายปี  ตั้งแต่ปี
                       2557 ถึงปี 2560 และน่าไปเปรียบเทียบกับแปลงเกษตรเคมีข้างเคียงซึ่งได้จากการสัมภาษณ์
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17