Page 9 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         1







                                                             บทที่ 1
                                                             บทน า


                       1.1 หลักการและเหตุผล
                                 ทุเรียน เป็นผลไม้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นราชาผลไม้ ด้วยรูปทรงที่แปลก รสชาติอร่อย
                       และมีกลิ่นหอม เป็นที่นิยมรับประทานของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  โดยในปี 2557 ประเทศไทย

                       ส่งออกทุเรียนรวม 3.8 แสนตัน คิดเป็นมูลค่า 13,580 ล้านบาท (จินตน์กานต์, 2557) และจากข้อมูล
                       การใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกพืชเศรษฐกิจของจังหวัดตราด ปี 2559 พบว่า มีพื้นที่ปลูกทุเรียนรวม
                       ทั้งสิ้น 29,902 ไร่ (กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน, 2559) ส่วนใหญ่ปลูกบนกลุ่มชุดดินที่ 45 ซึ่งมี

                       ลักษณะเป็นดินตื้นปนกรวดลูกรัง มีความอุดมสมบูรณ์ต่่า บางพื้นที่มีความลาดชันสูง และประสบ
                       ปัญหาขาดแคลนน้่าในบางช่วง เกษตรกรจึงจ่าเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการจัดการดินและปุ๋ยให้เหมาะสม
                       มีการพัฒนาด้านการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ลดต้นทุน ตลอดจนพัฒนาระบบ
                       การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยพบว่าปัจจุบันเกษตรกรจังหวัดตราดหันมาปลูกทุเรียนในระบบ
                       เกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น

                                 การผลิตทุเรียนในระบบเกษตรเคมีมีปัญหาและข้อเสียมากมาย เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมี และฉีด
                       พ่นสารเคมีจ่านวนมาก ขาดการดูแลดิน ท่าให้ดินเสื่อมโทรม และมีปัญหาการปนเปื้อนในอาหาร
                       ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสภาพแวดล้อม ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ

                       ปัจจุบันผู้ผลิตจึงหันมาสนใจการท่าเกษตรปลอดภัย หรือเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น การน่าเทคโนโลยี
                       การพัฒนาที่ดินไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงดินกรดด้วยปูนโดโลไมท์ การปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมักที่
                       ผลิตจากสารเร่ง พด.1 ที่มีการขยายเชื้อ พด.3 เพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน การใช้
                       น้่าหมักชีวภาพจากสารเร่ง พด.2 และสารสกัดสมุนไพรไล่แมลงจากสารเร่ง พด.7 ร่วมกับสมุนไพร

                       รักษาโรครากเน่าโคนเน่าจากต้นมหาปราบ มาใช้ในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองในพื้นที่ต่าบล
                       แหลมงอบ อ่าเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เป็นการด่าเนินงานเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของ
                       เทคโนโลยีและสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรที่มีความต้องการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตจาก
                       การเกษตรที่ใช้สารเคมีมาเป็นระบบเกษตรปลอดภัยให้สามารถพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ใน

                       อนาคตได้

                       1.2  วัตถุประสงค์
                              1.2.1  เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินจากการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน

                       ในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ต่าบลแหลมงอบ อ่าเภอแหลม
                       งอบ จังหวัดตราด
                              1.2.2  เพื่อศึกษาปริมาณผลผลิตของทุเรียนพันธุ์หมอนทองจากการใช้เทคโนโลยีการพัฒนา

                       ที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ต่าบลแหลมงอบ อ่าเภอ
                       แหลมงอบ จังหวัดตราด
                              1.2.3  เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14