Page 140 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 140

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                      110








                       เมื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดิน ทางผู้ศึกษาเห็นสมควรส่งเสริมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้เป็นพืชหลังนา ที่มีการ
                       ดูแลรักษาง่าย ใช้น้ าน้อย และให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมาก
                                การประเมินคุณภาพที่ดินที่ยังมีข้อจ ากัดด้านข้อมูลและมาตราส่วนแผนที่  จากการ
                       วิเคราะห์และประเมินปัจจัยต่างๆ คุณภาพที่ดินส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางและเล็กน้อย เนื่องจาก

                       ข้อจ ากัดที่ส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช  เช่น  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด
                       ความอุดมสมบูรณ์ของดินค่อนข้างต่ าปริมาณน้ าฝน และลักษณะทางกายภาพ เช่น ระดับความลึกของดิน
                       การระบายน้ าของดิน ความลาดชันของพื้นและการชะล้างพังทลายของดินเป็นการศึกษาอย่างหยาบ
                       เท่านั้นเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ

                                จากการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านกายภาพและคุณภาพที่ดินที่มีผลต่อการวางแผนการใช้
                       ที่ดิน นั้นจะเห็นได้ว่าปัจจัยทางด้านกายภาพ เป็นองค์ประกอบที่ส าคัญในการวิเคราะห์เพื่อน าไปสู่การ
                       วางแผนการใช้ที่ดิน เนื่องจากข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจโดยจะต้องวิเคราะห์
                       ร่วมกับข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมและนโยบายของรัฐ เพื่อให้ได้แผนการใช้ที่ดินที่สามารถแก้ไขสภาพ
                       ปัญหาความวิกฤติในพื้นที่ลุ่มน้ าให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไปได้


                       5.2  ข้อเสนอแนะ

                            1) ข้อมูลดินที่น ามาวิเคราะห์เป็นข้อมูลที่ได้มาจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ควรน าไป
                       ตรวจสอบคุณภาพดินในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีอีกครั้ง
                            2) พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน ภัยแล้ง และพื้นที่ปัญหาน้ าท่วมซ้ าซาก

                       ควรก าหนดให้เป็นเขตการใช้ที่ดินโดยเน้นงานด้านการอนุรักษ์ดินและน้ า และเฝ้าระวังเพื่อรับมือกับ
                       สภาพปัญหาและวางแผนการปลูกพืชให้ตรงกับฤดูกาล
                            3) ข้อมูลด้านอุทกวิทยา หรือปริมาณน้ าท่า คุณภาพน้ าผิวดิน ปริมาณน้ าฝน จ าเป็นต้องขอ
                       ความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น กรมชลประทาน กรมควบคุมมลพิษ

                       กรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อจะได้ข้อมูลที่มีความแม่นย ามากที่สุด
                            4) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินควรเน้นการศึกษาพืชที่สร้างรายได้
                       ให้กับเกษตรกร
                            5) ข้อมูลด้านการจัดการการปลูกพืช การเก็บเกี่ยวของเกษตรกร ควรน าไปพิจารณาในการก าหนดเขต

                       การใช้ที่ดินให้มากที่สุดโดยเฉพาะเขตเกษตรก้าวหน้าและเขตเร่งรัดพัฒนาการเกษตร
                            6) การวิเคราะห์ข้อมูลป่าไม้ควรให้ความส าคัญกับป่าเสื่อมโทรม และป่าไม้ตามกฎหมาย
                       เนื่องจากเป็นดัชนีชี้วัดการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เพื่อให้เป็นแหล่งต้นน้ าได้อย่างยั่งยืนมากที่สุด

                            7) ข้อมูลที่ด าเนินการแล้วเสร็จ ควรรีบเผยแพร่ให้กับหน่วยงานในท้องถิ่นเอาไปประกอบการ
                       ส่งเสริมในพื้นที่ให้เร็วที่สุด เพราะข้อมูลจะได้ตรงกับปัจจุบัน
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145