Page 136 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 136

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










                                                            บทที่ 5
                                                       สรุปผลการศึกษา



                       5.1  สรุปผลการศึกษา
                            จากการศึกษาข้อมูลทั่วไป และการวิเคราะห์สภาพปัญหา ปัจจัยทางด้านกายภาพและการ

                       ประเมินคุณภาพที่ดิน เพื่อน าไปประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ าในพื้นที่ลุ่มน้ าสาขาล าเชิงไกร
                       นั้นสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
                            5.1.1 สรุปสภาพปัญหาของปัจจัยทางด้านกายภาพ
                                1) ทรัพยากรดิน ถือว่าเป็นปัจจัยหลักอีกปัจจัยส าหรับการประกอบอาชีพการเกษตรใน
                       พื้นที่ลุ่มน้ าล าเชิงไกร สามารถแบ่งสภาพดินปัญหาที่พบตามลักษณะของพื้นที่ ดังนี้ สภาพดินปัญหา

                       ในพื้นที่ดอน คือ ดินส่วนใหญ่ค่อนข้างเป็นทราย มีพื้นที่ 333,586 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 18 ของพื้นที่ลุ่มน้ า
                       และสภาพดินปัญหาในพื้นที่ลุ่ม คือ ดินเค็ม 432,007 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 23 ของพื้นที่ลุ่มน้ า จะเห็นได้
                       ว่าลักษณะดินในพื้นที่ลุ่มน้ าล าเชิงไกร สภาพปัญหาที่ต้องระวังและควรแก้ไขมากที่สุดคือ พื้นที่ดินเค็ม

                       แสดงว่าพื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณเกลือมากเกินไปจ าเป็นต้องมีการควบคุมและท าความเข้าใจกับ
                       เกษตรกรในการปรับปรุงบ ารุงดิน ลดการแพร่กระจายของปริมาณเกลือในดินดินที่มีปริมาณเกลือที่
                       ละลายอยู่ในสารละลายดินมากเกินไป มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ปริมาณและคุณภาพของ
                       ผลผลิต ซึ่งอาจรุนแรงจึงท าให้พืชตายได้ เนื่องจากเกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารพืช พืชเกิดอาการ

                       ขาดน้ า และมีการสะสมสารละลายโซเดียม (เกลือ) มากเกินไป ฉะนั้นพื้นที่เหล่านี้ควรน าไปพิจารณา
                       ในการก าหนดเขตการใช้ที่ดินให้สามารถมีการใช้ที่ดินที่สามารถปลูกพืชให้เหมาะสมกับคุณสมบัติดิน
                                2) ปัจจัยด้านการชะล้างการพังทลายของดิน นั้นพบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้
                       ที่ดินมีผลต่อการประเมินระดับอัตราการชะล้างพังทลายของดินลุ่มน้ าสาขาล าเชิงไกรมีจ านวนน้อยมาก

                       เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบเรียบและลูกคลื่นลอนลาด ท าให้มีระดับการสูญเสียดินน้อย มีเนื้อที่
                       1,238,833 ไร่ หรือร้อยละ 67.02 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา รองลงมาเป็นระดับการสูญเสียดินปานกลาง
                       มีเนื้อที่ 605,819 ไร่ หรือร้อยละ 32.77 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา และมีพื้นที่ที่มีระดับการสูญเสียดิน
                       รุนแรงอีกเล็กน้อย คือ มีเนื้อที่ 3,817 ไร่หรือร้อยละ 0.21 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา ซึ่งพื้นที่ลุ่มน้ าล าเชิงไกร

                       เป็นพื้นที่ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการชะล้างการพังทลายของดิน แต่ต้องส่งเสริมเรื่องการใช้ที่ดินด้านการ
                       อนุรักษ์ดินและน้ าให้กับพื้นที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงปานกลางและรุนแรง เพื่อป้องกันการสูญเสียหน้าดินที่
                       มากขึ้น
                                3) ทรัพยากรน ้า ในพื้นที่ลุ่มน้ าล าเชิงไกร พบบางพื้นที่มีคุณภาพน้ ากร่อยหรือเค็มซึ่งจะ

                       ปรากฏกระจายเป็นหย่อมๆ อยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นที่ลุ่มหรือที่ต่ าหากฤดูกาลที่มีฝนทิ้งช่วง
                       เกษตรกรจะได้รับผลกระทบโดยน้ าที่ใช้ในการบริโภคอุปโภค มีรสกร่อย หรือเค็ม พื้นที่ที่ท า
                       การเกษตรก็ได้รับผลกระทบ เช่น พื้นที่ปลูกข้าว ไม่ได้ผลผลิต เพราะปริมาณน้ าไม่พอข้าวจึงไม่
                       สามารถเจริญเติบโตได้ ก็ยังไม่สามารถบรรเทาการขาดแคลนน้ ากินน้ าใช้ได้ ในเรื่องของคุณภาพน้ าผิวดิน

                       ช่วงเดือนสิงหาคม 2557 ณ จุดตรวจวัดคุณภาพน้ าหนึ่งแห่ง พบว่า บางช่วงออกซิเจนละลายได้ (DO)
                       อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)  อยู่ในเกณฑ์เป็นด่างเล็กน้อย ซึ่งถือว่าเป็น
                       พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ าเน่าเสียได้เพราะพื้นที่ลุ่มน้ าล าเชิงไกร มีโรงงานผลิตมันส าปะหลัง
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141