Page 12 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินความเหมาะสมทางกายภาพ
เป็นการวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสมของข้อมูลทางกายภาพโดยใช้ข้อมูลหน่วยที่ดิน
ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินมาประกอบเพื่อประเมินความเหมาะสมของหน่วยที่ดินส้าหรับพืชเศรษฐกิจ
ที่พบมากในพื้นที่ ประเมินความเหมาะสมของที่ดินด้านกายภาพ จะน้าประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
(Land utilization type, LUT) มาประเมินว่าความเหมาะสมของที่ดินของแต่ละหน่วยที่ดิน
(Land unit, LU) เหมาะสมต่อประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบใดบ้าง
1. คุณภาพที่ดิน (Land quality, LQ) คือ สมบัติของหน่วยที่ดินที่มีอิทธิพลต่อ
การเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช คุณภาพที่ดินอาจประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดิน (Land characteristic)
ตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ เช่น สภาวะการเขตกรรม คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน คือ ชั้นความยากง่าย
ในการเขตกรรม (ดินบน) หรือ ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน คือ
ความจุแลกเปลี่ยนแคตไออน (CEC) และความอิ่มตัวเบส (Base saturation)
2. การจ้าแนกชั้นความเหมาะสมของหน่วยที่ดินด้านกายภาพ (Land suitability classification)
แบ่งออกเป็น 4 ชั้น (Class) คือ
S1 ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง
S2 ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง
S3 ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย
N ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม
ตามหลักการของ FAO Framework ค.ศ. 1983 ได้จ้าแนกอันดับความเหมาะสม
ของที่ดินสอดคล้องกับระดับความต้องการปัจจัยคุณภาพที่ดินของแต่ละประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ที่แตกต่างกัน และได้จ้าแนกอันดับความเหมาะสมของที่ดินเป็น 2 อันดับ (Order) คือ อันดับที่เหมาะสม
(SuitabilityOrder: S) และอันดับที่ไม่เหมาะสม (Not Suitable Order: N) เมื่อจ้าแนกอันดับความ
เหมาะสมแล้ว ยังสามารถแบ่งชั้นระดับความเหมาะสมในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ ได้เป็น 3 ชั้น
(Class) ได้แก่ ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (Highly Suitable: S1) ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง
(Moderately Suitable: S2) และชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (Marginally Suitable: S3)
นอกจากนี้ในแต่ละชั้นความเหมาะสมยังแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (Subclass) ซึ่งสะท้อนข้อจ้ากัดสูงสุด
ของคุณภาพที่ดินที่มีอิทธิพลรุนแรงที่สุดต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชอีก
ขั้นตอนที่ 6 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากการประเมินความเหมาะสมของที่ดินด้านกายภาพ
ในภาคสนามอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการประเมินความเหมาะสมของที่ดินด้านกายภาพของ
พืชเศรษฐกิจในพื้นที่เป้าหมาย โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรที่มีการท้าการเกษตรตามชั้นเหมาะสมต่างๆ จ้านวน
ชั้นความเหมาะสมละ 5 ตัวอย่าง รวมเป็น 20 ตัวอย่าง
ขั้นตอนที่ 7 ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลรวมถึงรวบรวมสภาพปัญหาที่เป็นจริงและเป็นปัจจุบันซึ่ง
เป็นการน้าข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นจากเกษตรกรมาผนวกกับผล
การประเมินความเหมาะสมของที่ดิน
ขั้นตอนที่ 8 สรุปผล พร้อมจัดท้ารายงานการวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดิน
ส้าหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้้า ในพื้นที่ลุ่มน้้าสาขาล้าเชิงไกร