Page 11 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         4







                                5.  การวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตทางการเกษตร
                                  เป็นการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตทางการเกษตรจากหน่วยงานในส่วนกลาง
                       อาทิกรมวิชาการเกษตร  กรมส่งเสริมการเกษตร  ส้านักงานเศรษฐกิจการเกษตร  ทั้งจากการประสานงาน
                       โดยตรงและการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต พร้อมน้าข้อมูลและแผนที่จากกลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน

                       กรมพัฒนาที่ดินมาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อก้าหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                              ขั้นตอนที่ 4 การส้ารวจและตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อมูลในภาคสนาม
                                เป็นการด้าเนินการตรวจหน่วยที่ดิน  ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน  ส้ารวจสภาวะ
                       เศรษฐกิจ  สังคม  รวมทั้งเป็นการรวบรวมข้อมูลเพิ่มจากหน่วยงานในพื้นที่เพื่อความเป็นปัจจุบันของ

                       ข้อมูล มีรายละเอียดดังนี้
                                  1. การส้ารวจเพื่อตรวจสอบและคัดเลือกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Utilization Type
                       : LUT) ก้าหนดให้คัดเลือกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินที่สุ่มตัวอย่างจากสภาพการใช้ที่ดินที่มีมาก
                       ที่สุดในพื้นที่ตามล้าดับมาเป็นตัวแทน และ 1 ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินจะมีการสัมภาษณ์เกษตรกร

                       5 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 ราย รวมเป็น 10 ตัวอย่างต่อ 1 ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งลุ่มน้้าล้าเชิงไกร
                       สามารถคัดเลือกได้ทั้งสิ้น 15 ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมจ้านวนตัวอย่างทั้งลุ่มน้้า คือ 150 ตัวอย่าง
                                    จากแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน และข้อมูลจากส้านักงานเกษตรอ้าเภอในพื้นที่ศึกษา

                       จะท้าให้ทราบว่ามีพืชอะไรบ้าง ปลูกอยู่บริเวณใด โดยเข้าไปในพื้นที่ลุ่มน้้า เพื่อประสานกับเกษตรต้าบล
                       ก้านัน หรือผู้ใหญ่บ้าน เพื่อหาข้อมูลว่าแต่ละกลุ่มดินมีพืชอะไรปลูกอยู่บ้าง รวมทั้งสัมภาษณ์เกษตรกร
                       บริเวณนั้นๆ เพื่อสอบถามข้อมูลส้าหรับใช้ในการวิเคราะห์จัดท้าประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังนี้
                                      1.1  ระบบการปลูกพืช ระยะเวลาปลูก และเก็บเกี่ยว
                                      1.2  พันธุ์ที่ใช้ปลูก

                                      1.3  การจัดการในการปลูกพืช
                                      1.4  ใช้เทคโนโลยีมากน้อยแค่ไหน
                                      1.5  การลงทุนเป็นอย่างไร

                                      1.6  การเขตกรรมใช้แรงงานประเภทใด (แรงงานคน/สัตว์/เครื่องจักร)
                                      1.7  ปริมาณผลผลิตที่ได้รับ
                                    ข้อมูลเหล่านี้จะน้าไปใช้ในการวิเคราะห์ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินว่ามีกี่ประเภท
                       และการคัดเลือกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินจะต้องแน่ใจว่าในแต่ละประเภทที่ปลูกบนดินกลุ่มนั้นๆ

                       มีรูปแบบที่สม่้าเสมอกัน เพื่อให้มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด เมื่อคัดเลือกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                       และทราบพื้นที่ปลูกแน่นอนแล้ว  จะน้าข้อมูลเหล่านี้ส่งให้กระบวนการส้ารวจสภาวะเศรษฐกิจสังคม
                       ด้าเนินการส้ารวจข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจที่ดินเพื่อให้ทราบต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนที่ได้รับ
                       ตลอดจนสภาพปัญหา ความต้องการให้รัฐช่วยเหลือและทัศนคติในการใช้ที่ดินท้าการเกษตร

                                  2. ศึกษาปัญหาการเพาะปลูกพืช
                                      2.1  ด้านพันธุ์พืช
                                      2.2  ชนิดและปริมาณปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช มีการใช้ถูกต้องหรือไม่
                                      2.3  โรคแมลงและศัตรูพืชระบาดรุนแรงเพียงใด ระบาดช่วงไหน

                                      2.4  แรงงานที่ใช้ในการผลิตมีปัญหาหรือไม่
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16