Page 10 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         3







                                    1.8  ข้อมูลขอบเขตลุ่มน้้า
                                  2.  ข้อมูลที่รวบรวมจากภายในกรมพัฒนาที่ดิน ประกอบด้วย ข้อมูลทางด้านกายภาพ
                       สภาพแวดล้อม โดยมีรายละเอียดประเภทข้อมูลดังนี้
                                    2.1  ฐานข้อมูลคุณสมบัติดินและแผนที่ดิน

                                    2.2  แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน
                                    2.3  ข้อมูลขอบเขตป่าไม้ถาวร
                                    2.4  ข้อมูลเส้นชั้นความสูง
                              ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อจัดท้าหน่วยที่ดินและประเภทการใช้ประโยชน์

                       ที่ดิน โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้
                                1.  การวิเคราะห์สภาพภูมิอากาศ
                                  วิเคราะห์การกระจายของน้้าฝน จ้านวนวันที่ฝนตกในแต่ละเดือน ปริมาณฝนที่ตกใน
                       แต่ละเดือน วิเคราะห์อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ วิเคราะห์ความสมดุลของน้้าเพื่อการเกษตรเพื่อศึกษา

                       ช่วงที่มีปริมาณน้้าฝนพอเพียงต่อการเพาะปลูก และระยะเวลาที่ฝนทิ้งช่วง ท้าให้สามารถประเมินได้
                       ว่ามีพืชชนิดใดบ้างที่เหมาะต่อ  สภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่  ช่วงใดเสี่ยงต่อการปลูกพืช  ท้าให้
                       สามารถใช้เป็นแนวทางในการเสนอแนะระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ลุ่มน้้าได้ การวิเคราะห์

                       เพื่อเปรียบเทียบปริมาณน้้าฝนแต่ละช่วงปี โดยแบ่งเป็น ช่วง 10 ปี 20 ปี และ 30 ปี เพื่อหาความ
                       แตกต่างของปริมาณน้้าฝนในแต่ละช่วงปี
                                2.  การวิเคราะห์ทรัพยากรน้้า
                                  วิเคราะห์แหล่งน้้าธรรมชาติทั้งน้้าผิวดินและน้้าใต้ดิน  และลักษณะของที่ดินเพื่อศึกษา
                       ความเหมาะสมว่ามีที่ดินบริเวณใดบ้างที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาระบบชลประทานได้ (Irrigable land)

                       และพื้นที่ไหนที่เหมาะสมจะขุดเจาะแหล่งน้้าบาดาลได้
                                3.  การวิเคราะห์ทรัพยากรป่าไม้
                                  ในเบื้องต้นวิเคราะห์สถานการณ์ป่าไม้ตามกฎหมายว่าในปัจจุบันมีเนื้อที่อยู่เท่าใด

                       มีการบุกรุกป่าหรือไม่ เป็นเนื้อที่เท่าใด โดนบุกรุกอย่างถาวรหรือชั่วคราว พื้นที่ถูกบุกรุกเป็นพื้นที่
                       ต้นน้้าล้าธารหรือเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการเกษตรหรือไม่ ส้าหรับพื้นที่นอกเขตป่ามีบริเวณ
                       ใดบ้างที่สามารถจะก้าหนดเพิ่มเป็นพื้นที่ป่าไม้ได้ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเกษตร
                                4.  การวิเคราะห์ทรัพยากรดิน

                                  วิเคราะห์สถานภาพทรัพยากรที่ดิน  ปัญหาของทรัพยากรดินในการใช้ประโยชน์โดยการ
                       วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับต่อจากนักส้ารวจดินในการวิเคราะห์และจัดท้าหน่วยที่ดิน (Land Unit: LU) ซึ่งจะท้า
                       การรวบรวมข้อมูลดินชุดต่างๆ (Soil series) หรือกลุ่มดินที่มีลักษณะทางกายภาพ และเคมีของดินคล้ายคลึงกัน
                       แต่จะต้องมีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัดในแง่ของคุณภาพดิน (Land Quality: LQ) ที่จะมีผลต่อความต้องการ

                       ของการใช้ที่ดิน (Land use requirements) ให้เป็นหน่วยเดียวกัน ส่วนการวิเคราะห์และจัดท้าหน่วยที่ดิน
                       จะน้าไปพิจารณากับปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น พื้นที่รับน้้าชลประทาน (Irrigated area) การพัฒนาที่ดิน เช่น การจัด
                       รูปที่ดิน การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้้า สภาพพื้นที่ (Landform) และอิทธิพลเฉพาะที่ (Site  effect) เช่น
                       ปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยว น้้าท่วมพื้นที่ ความลึกของระดับการแช่ขังของน้้า ไม่มีการสร้างระบบป้องกันน้้าท่วม

                       เป็นต้น ส้าหรับแหล่งน้้าต้องไปศึกษาในภาคสนามแล้วน้ากลับมาวิเคราะห์จัดท้าเป็นหน่วยที่ดินต่อไป
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15