Page 27 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินที่มีวัตถุต้นกำเนิดจากหินแกรนิตบริเวณจังหวัดอุทัยธานี
P. 27
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
18
บทที่ 3
ขอมูลทั่วไป
3.1 ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดอุทัยธานี เปนจังหวัดที่ตั้งอยูทางภาคกลางตอนเหนือของประเทศไทย หางจากกรุงเทพฯ
o
o
ประมาณ 220 กิโลเมตร อยูระหวางเสนรุงที่ 14 56' 06" ถึง 15 50' 00" เหนือ และเสนแวงที่
o
o
98 58' 48" ถึง 100 15' 00" ตะวันออก มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 6,730 ตารางกิโลเมตร หรือ
ประมาณ 4,206,404 ไร มีอาณาเขตติดตอกับจังหวัดใกลเคียงดังนี้ (กรมการปกครอง, 2553)
ทิศเหนือ ติดตอกับจังหวัดนครสวรรค
ทิศใต ติดตอกับจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันออก ติดตอกับจังหวัดชัยนาท และจังหวัดนครสวรรค
ทิศตะวันตก ติดตอกับจังหวัดตาก และจังหวัดกาญจนบุรี
การจัดรูปแบบการปกครองตามลักษณะการปกครองสวนภูมิภาค โดยแบงออกเปน 8 อําเภอ
ไดแก อําเภอบานไร อําเภอลานสัก อําเภอหวยคต อําเภอสวางอารมณ อําเภอทัพทัน อําเภอหนองฉาง
อําเภอหนองขาหยาง และอําเภอเมืองอุทัยธานี (ภาพที่ 3-1) ประกอบดวย 70 ตําบล และ 642 หมูบาน
3.2 สภาพภูมิอากาศและความสมดุลน้ํา
สภาพภูมิอากาศที่มีอิทธิพลตอการเกิดของดินหรือทําใหดินมีลักษณะแตกตางกัน ไดแก
อุณหภูมิและปริมาณน้ําฝน ซึ่งทั้งสองอยางนี้มีอิทธิพลตออัตราการสลายตัวของหิน แร ทั้งในดาน
กายภาพ และเคมี (physical and chemical weathering) ทั้งยังมีอิทธิพลตออัตราความเร็วของ
การเคลื่อนยายและการสะสมใหมของหินและแรที่ถูกแปรสภาพมาเปนวัตถุตนกําเนิดของดิน
จากการจําแนกประเภทภูมิอากาศตามระบบของคอปเปน (Köppen classification, 1931)
พบวาจังหวัดอุทัยธานี ตั้งอยูในเขตรอน มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใตและลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ
พัดผานเปนประจํา ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใตจะนําเอาไอน้ําจากทะเลพัดผานขึ้นไปทางทิศเหนือ
ระหวางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ระยะนี้มีฝนตกชุกเรียกวา ฤดูฝน ระหวางเดือนพฤศจิกายน
ถึงเดือนกุมภาพันธ จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดจากทิศเหนือลงมาทางทิศใตนําเอาความ
แหงแลงและความหนาวเย็นลงมา ระยะนี้เรียกวา ฤดูหนาว ตอจากนั้นอากาศจะแหงแลงและรอนชื้น
คือ ระหวางเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน เรียกวา ฤดูรอน เมื่อพิจารณาจากตารางที่ 3-1 ขอมูล
สภาพภูมิอากาศในคาบ 30 ป (พ.ศ.2530-2559) จะเห็นวาจังหวัดอุทัยธานี มีปริมาณน้ําฝนเฉลี่ย
ตลอดป 1,141.2 มิลลิเมตร (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2560) ซึ่งต่ํากวา 1,200 มิลลิเมตร ถือวาบริเวณนี้
มีปริมาณน้ําฝนรวมรายปนอย (พงศกฤษณ, 2560) และมีจํานวนวันฝนตกเฉลี่ย 103 วัน