Page 69 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 69

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           57




                             เมื่อจัดทําชั้นข้อมูลเบื้องต้นทั้งหมดครบแล้ว ทําการรวบรวม และปรับค่าพิกัดพื้นหลักฐานอ้างอิง
                  (datum) ให้อยู่ในระบบเดียวกัน คือ WGS84 รวมทั้งข้อมูลทุติยภูมิที่หน่วยงานต่างๆ ได้แก่ แผนที่สภาพภูมิประเทศ
                  แผนที่ธรณีวิทยา แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน และแผนที่ขอบเขตลุ่มน้ํา ให้นําเข้าระบบ GIS ทั้งหมด เพื่อเตรียม

                  สําหรับการวิเคราะห์ต่อไป
                        1.2 การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นและจัดทําแผนที่ต้นร่างด้วย GIS


                             1.2.1 นําชั้นข้อมูลสภาพพื้นที่เบื้องต้น ได้แก่ แผนที่ดิน มาตราส่วน 1:100,000 และ 1:25,000
                  แผนที่ธรณีวิทยา แผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข ขอบเขตลุ่มน้ํา เส้นชั้นความสูง และความลาดชัน มาวิเคราะห์
                  ความสัมพันธ์ร่วมกับปัจจัยการกําเนิดดิน (soil forming factor) โดยใช้เทคนิคการซ้อนทับ (overlay)
                  ด้วยโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ภาพที่ 23) เพื่อให้ทราบถึงสภาพภูมิประเทศบริเวณพื้นที่ศึกษาและ
                  จัดทําเส้นขอบเขตดินต้นร่าง




                    (ก) แผนที่ชุดดิน มาตราส่วน 1:100,000           (ข) แผนที่กลุ่มชุดดิน มาตราส่วน 1:25,000














                    (ค) แผนที่ธรณีวิทยา มาตราส่วน 1:250,000        (ง) แผนที่ความลาดชัน (slope class)














                  ภาพที่ 23 ผลจากการซ้อนทับชั้นข้อมูลด้วยโปรแกรม GIS ได้แก่ แผนที่ชุดดินมาตราส่วน 1:100,000 (ก) และ
                           1:25,000 (ข) แผนที่ธรณีวิทยา (ค) และแผนที่ความลาดชัน (ง) บริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า


                             1.2.2 จัดทําขอบเขตหน่วยแผนที่ต้นร่างโดยแปลภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลขร่วมกับข้อมูล
                  เส้นชั้นความสูง ข้อมูลความลาดชัน และชั้นข้อมูลต่างๆ ของพื้นที่ศึกษาที่ได้จากการวิเคราะห์ข้างต้น โดยใช้
                  วิธีการทางภูมิปฐพี (geopedological approach) พัฒนาโดย Zinck (1989) มีแนวทางการศึกษาโดยแบ่ง
                  พื้นที่ศึกษาออกตามภูมิทัศน์ (landscape) และทําการแบ่งย่อยแต่ละภูมิลักษณ์ (landform) ออกตามความต่าง

                  ของระดับพื้นที่ (relief) โดยให้สอดคล้องกับปัจจัยการกําเนิดดิน จากนั้นทําการนําเข้าข้อมูลเส้น (polyline)
                  โดยการดิจิไทซ์ (digitize) และกําหนดหน่วยแผนที่เบื้องต้นขึ้นใหม่ด้วยเครื่องมือของโปรแกรมระบบสารสนเทศ
                  ภูมิศาสตร์ (ภาพที่ 24)
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74