Page 73 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 73

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           61










































                  ภาพที่ 29 ชั้นข้อมูลแบบจุดและตารางข้อมูลที่เกี่ยวข้องของหลุมเจาะดินที่ได้จากการนําเข้าข้อมูล


                             1.3.2 การกําหนดหน่วยแผนที่ดิน
                                   พิจารณาและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบบันทึกหลุมเจาะดิน แล้วกําหนดหน่วยแผนที่

                  ด้วยโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับการพิจารณาจากปัจจัยการกําเนิดดินบางประการ ได้แก่
                  สภาพพื้นที่ (relief) โดยพิจารณาจากชั้นข้อมูลความลาดชันที่จัดทําขึ้นก่อนหน้านี้ และวัตถุต้นกําเนิดดิน
                  (parent material) ซึ่งพิจารณาจากแผนที่ธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณี (สํานักธรณีวิทยา, 2555)

                  เนื่องจากทราบถึงรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับอายุ ชนิดของหินและตะกอนได้ ทั้งนี้บริเวณพื้นที่เทือกเขา
                  และภูเขา ส่วนใหญ่ลักษณะและสมบัติของดินเกือบทั้งหมดถูกควบคุมโดยหินชนิดต่างๆ ซึ่งเมื่อหินผุพังสลายตัว
                  ก็จะกลายเป็นแหล่งของวัตถุต้นกําเนิดดิน และพัฒนากลายเป็นดินในที่สุด (สถิระและคณะ, 2556)

                                   สําหรับการเขียนหน่วยแผนที่นั้น ประกอบด้วย ชุดดิน (soil series) ดินคล้าย (soil variant)
                  ประเภทดิน (soil phases) และหน่วยพื้นที่เบ็ดเตล็ด (miscellaneous areas) โดยลักษณะหรือสมบัติดิน

                  ที่นํามาใช้เป็นประเภทของชุดดินหรือดินคล้าย ได้แก่ เนื้อดินตอนบน (phases of surface layer) และความ
                  ลาดชันของพื้นที่ (phases of slope) จากนั้นคํานวณพื้นที่ (ไร่) จากขอบเขตหน่วยแผนที่ที่ได้จากโปรแกรม
                  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และจัดทําตารางสรุปหน่วยแผนที่

                  2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GIS ในการสํารวจและจัดทําแผนที่ดิน

                        ผลการศึกษาครั้งนี้ ได้นํา GIS มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นผิวภูมิประเทศ (surface analyst) โดยใช้
                  ข้อมูลความสูงของพื้นที่ (elevation) หรือ DEM เป็นข้อมูลตั้งต้นในการวิเคราะห์ ได้แก่ การวิเคราะห์เส้นชั้น

                  ความสูง (contour) ความลาดชัน (slope) และการตกกระทบของแสง (hillshade) เมื่อนําข้อมูลต่างๆ
                  ดังกล่าวมาซ้อนทับกัน (overlay) จะเป็นการแสดงแผนที่สามมิติ (ภาพที่ 30) ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้วิเคราะห์ได้
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78