Page 74 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 74

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           62




                  เห็นลักษณะภูมิประเทศที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง และเขียนขอบเขตหน่วยแผนที่ดินได้สอดคล้องกับ
                  ภูมิลักษณ์ (landform) อีกทั้งมีการนําคําสั่ง Model Builder มาใช้ในกระบวนการจัดการชั้นข้อมูลดังกล่าว
                  ทําให้ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทํางานได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้ที่ทําการวิเคราะห์ข้อมูลไม่ต้องเลือกใช้

                  คําสั่งทีละครั้ง การสร้างแบบจําลองจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างอัตโนมัติ เมื่อกําหนดชุดคําสั่ง
                  ต่างๆ สําหรับการวิเคราะห์ไว้แล้ว ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถประมวลผลแบบจําลองดังกล่าวได้หลายครั้งซ้ําๆ รวมถึงนํา
                  แบบจําลองไปใช้วิเคราะห์ และขยายผลกับพื้นที่อื่นๆ ได้














                                                                                            สัญลักษณ์แผนที่
                                                                                                ขอบเขตหน่วยแผนที่ดิน
                                                                                                เส้นชั้นความสูง
                                                                                            ความลาดชัน (%)
                                                                                                0 - 2
                                                                                                2 - 5
                                                                                                5 - 12
                                                                                                12 - 20
                                                                                                20 - 35
                                                                                                35 - 50
                                                                                                50 - 75
                                                                                                > 75


                  ภาพที่ 30 แผนที่สามมิติที่เกิดจากการซ้อนทับกัน (overlay) ของชั้นข้อมูล ได้แก่ เส้นชั้นความสูง (contour)
                            ความลาดชัน (slope) และการตกกระทบของแสง (hillshade) บริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า

                        ผลการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับข้อมูลที่ทันสมัยในการวิเคราะห์สภาพพื้นที่เพื่อ
                  จัดทําแผนที่ดิน มาตราส่วน 1:25,000 โดยพิจารณาเส้นขอบเขตหน่วยแผนที่ดินที่ได้จากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว

                  เมื่อเปรียบเทียบกับแผนที่ดิน มาตราส่วน 1:100,000 และ 1:50,000 พบว่า เส้นขอบเขตหน่วยแผนที่ดินใหม่นั้น
                  มีความละเอียดและสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ในอดีตนั้น
                  ใช้การแปลภาพถ่ายทางอากาศ มาตราส่วน 1:40,000 โดยการส่องกล้องสเตอริโอสโคป ซึ่งความถูกต้องของ
                  การเขียนเส้นขอบเขตหน่วยแผนที่ดินนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความชํานาญของผู้แปลภาพ อีกทั้งอาจมี
                  การบิดเบี้ยวบริเวณที่เหลื่อมกันของตําแหน่งภาพถ่าย ทําให้ผู้แปลภาพเขียนเส้นขอบเขตของหน่วยแผนที่ดิน

                  คลาดเคลื่อนและไม่ตรงกับสภาพพื้นที่จริง (ตารางที่ 5 และภาพที่ 31)

                        โดยสามารถนํากระบวนการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับการสํารวจดินแบบละเอียดในระดับเขตพัฒนาที่ดิน
                  (มาตราส่วน 1:4,000) ซึ่งขอบเขตหน่วยแผนที่ที่มีความละเอียดนั้น จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการวางแผนการใช้
                  ประโยชน์ที่ดินในด้านต่างๆ ได้แก่ การวางแผนอนุรักษ์ดินและน้ํา รวมถึงนําไปใช้เป็นฐานข้อมูลของการจัดทํา

                  เขตความเหมาะสมพืชเศรษฐกิจ (Zoning) เพื่อให้เกษตรกรทําการผลิตพืชเศรษฐกิจได้เหมาะสมกับศักยภาพ
                  ของพื้นที่ตามเขตความเหมาะสมสําหรับการปลูกพืช อีกทั้งยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน
                  การผลิต และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79