Page 42 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 42
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
35
- Active Remote Sensing Satellite คือ ดาวเทียมที่มีแหล่งก าเนิด
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในตัวแล้วส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปยังวัตถุที่ต้องการส ารวจ เพื่อรับรังสีที่สะท้อนมา
จากวัตถุที่ต้องการส ารวจแล้วท าการบันทึกข้อมูลโดยเครื่องมือวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ดาวเทียมระบบ
นี้บันทึกข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถบันทึกข้อมูลผ่านทะลุเมฆได้ เป็นดาวเทียมระบบเรดาร์
เช่น เรดาร์แซท
- Passive Remote Sensing Satellite คือ ดาวเทียมไม่มีแหล่งก าเนิด
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในตัวต้องใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งก าเนิดอื่น เช่น ดวงอาทิตย์ คลื่นแม่เหล็ก
ไฟฟ้าของสิ่งที่ต้องการส ารวจแผ่รังสีออกมาเอง ดาวเทียมระบบนี้บันทึกข้อมูลเฉพาะเวลากลางวันที่มี
แสงอาทิตย์เท่านั้น ไม่สามารถบันทึกข้อมูลผ่านทะลุเมฆได้ เช่น ดาวเทียมแลนด์แซท (Landsat)
ดาวเทียมสปอต (Spot) และดาวเทียมไทยโชต (Thaichote) เป็นต้น
(4) การแปลความหมายข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือบันทึกข้อมูล โดยแปลงความเข้ม
ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่วัดได้เป็นข้อมูลที่ต้องการส ารวจ มี 2 ประเภท ดังนี้
- ภาพเชิงแสง (Optical images) ภาพดาวเทียมที่ได้จากการบันทึก
พลังงานที่สะท้อนตามธรรมชาติจากวัตถุบนพื้นผิวโลกในช่วงคลื่นที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ช่วงคลื่นที่ตา
มองเห็นจนถึงช่วงคลื่นอินฟราเรด โดยอาศัยคุณสมบัติของการสะท้อนที่แตกต่างกันของแต่ละวัตถุ
ในช่วงคลื่นเดียวกันข้อมูลในแต่ละช่วงคลื่นจึงให้รายละเอียดของวัตถุที่แตกต่างกัน
- ภาพเรดาร์ (SAR image) ได้แก่ ภาพดาวเทียมที่ได้จากการส่งคลื่น
แม่เหล็กไมโครเวฟคลื่นเดียวไปยังวัตถุบนพื้นโลก และบันทึกสัญญาณการสะท้อนกลับของวัตถุโดยขึ้นอยู่
กับความขรุขระของพื้นผิว ลักษณะภูมิประเทศ คุณสมบัติทางกายภาพ เป็นต้น แต่สามารถน าข้อมูล
หลายช่วงเวลาหรือข้อมูลต่างระบบมาใช้ร่วมกัน เพื่อท าเป็นภาพสีผสมส าหรับติดตามการเปลี่ยนแปลง
หรือเพิ่มรายละเอียดของเนื้อหาของข้อมูล
2) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (สารานุกรมไทยส าหรับเยาวชน, 2561)
(1) ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นระบบที่ใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างข้อมูล
เชิงพื้นที่ (spatial data) ซึ่งก าหนดต าแหน่งบนพื้นโลกที่แน่นอนของพื้นที่ท าการศึกษา และข้อมูล
เชิงลักษณะ (attribute data) อธิบายลักษณะต่าง ๆ ของพื้นที่ดังกล่าวนั้น เป็นระบบที่ท างาน
โดยอาศัยเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยมีขั้นตอนการท างาน คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัด
หมวดหมู่และรูปแบบการปรับปรุงแก้ไขหรือดัดแปลงข้อมูลเพื่อการใช้งาน ขั้นตอนทั้งหมดเรียกว่า
การสร้างฐานข้อมูล โดยมีการบ ารุงรักษาฐานข้อมูลและการท าให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันเพื่อการค้นคืน
(Retrieval) ซึ่งก็คือ การเรียกใช้ข้อมูลชนิดใดชนิดหนึ่งที่ต้องการ และได้จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลแล้ว
น ามาท าการวิเคราะห์และแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบกราฟิก แผนที่ หรือตารางตัวเลข สามารถท าได้
รวดเร็ว ถูกต้องแม่นย า และมีประสิทธิภาพมาก
(2) องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มีองค์ประกอบที่ส าคัญ 5 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์
(Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) ข้อมูล (Data) กระบวนการวิเคราะห์ (Application procedure)
และบุคลากร (Peopleware) อธิบายพอสังเขปดังต่อไปนี้