Page 44 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 44
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
37
ข้อมูลเชิงพื้นที่ คือ ข้อมูลที่แสดงลักษณะทางกายภาพของสิ่งต่าง ๆ
ที่ปรากฏอยู่บนโลก โดยสามารถถ่ายทอดออกมาในรูปแบบการแสดงผลบนแผนที่ ได้จากการวิเคราะห์
ในลักษณะของสัญลักษณ์ อันประกอบด้วย จุด เส้น และพื้นที่ ซึ่งข้อมูลพื้นที่ดังกล่าวต้องสามารถ
อ้างอิงกับค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้ ข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ยังสามารถจ าแนก
ออกได้เป็น 2 แบบย่อย ดังต่อไปนี้
แรสเตอร์ (Raster) ข้อมูลแบบแรสเตอร์เป็นข้อมูลที่เกิดจากการ
กราดภาพ (scan) แผนที่ชนิดต่างๆ ภาพถ่ายจากดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ เมื่อขยายภาพจนเห็น
โครงสร้างของภาพเป็นช่องสี่เหลี่ยม ที่เรียกว่า จุดภาพ หรือกริดเซลล์ (grid cell) เรียงต่อเนื่องกัน
เป็นแนวราบและแนวดิ่ง ซึ่งจุดภาพที่เรียงตัวตามแนวราบและแนวดิ่งคือลักษณะของข้อมูลแบบแรสเตอร์
ทั้งนี้แต่ละจุดภาพมีค่าได้ 1 ค่า ที่อาจเหมือนหรือแตกต่างกันได้ และสามารถน ามาใช้ในการจัดกลุ่ม
จ าแนกวัตถุที่ปรากฏบนภาพ เช่น แนวของถนนคอนกรีตกับถนนลูกรัง จ าแนกตามค่าจุดภาพที่ไม่เท่ากัน
เวกเตอร์ (Vector) ข้อมูลแบบเวกเตอร์เป็นข้อมูลที่สร้างขึ้นโดยการ
อ้างอิงกับข้อมูลแบบแรสเตอร์ หรือเป็นข้อมูลที่ได้จากระบบเครื่องวัดพิกัดจากดาวเทียม หรือจากการ
สร้างขึ้นมา เพื่อใช้เป็นตัวแทนของสิ่งที่ปรากฏอยู่บนพื้นที่จริง โดยแสดงในรูปแบบของจุด เส้น และพื้นที่
จะมีมาตราส่วนเป็นตัวก าหนดขนาด เช่น ถ้ามาตราส่วน 1: 50,000 แนวถนนมองเห็นเป็นเส้น แต่ถ้า
มาตราส่วน 1:1,000 แนวถนนนั้นสามารถแสดงเป็นพื้นที่ถนนหรือช่องจราจรได้ ซึ่งในทางคณิตศาสตร์
คุณสมบัติของเวกเตอร์ต้องประกอบด้วย จุดเริ่มต้น ขนาด และทิศทาง
ข้อมูลเชิงลักษณะ คือ ข้อมูลที่บอกถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ
ในพื้นที่ เช่น ประเภทของหิน ชนิดของดิน ระบบการระบายน้ า ชนิดของแหล่งน้ า ลักษณะของป่า
เส้นทางคมนาคม จ านวนประชากรในเขตการปกครอง วัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่
- กระบวนการวิเคราะห์ จัดเป็นส่วนส าคัญของระบบงานสารสนเทศ
ภูมิศาสตร์ โดยกระบวนการวิเคราะห์สามารถน าข้อมูลเชิงพื้นที่ และข้อมูลเชิงลักษณะมารวมเข้าด้วยกัน
ด้วยการผนวกชั้นข้อมูล (data layer) เช่น การน าแผนที่ดินมาซ้อนทับกับแผนที่ธรณีวิทยา และชั้น
ความสูงที่แปลงค่าเป็นความลาดชัน เมื่อน ามารวมกันท าให้ทราบว่า ดินบริเวณที่ศึกษานั้นอยู่บนชั้น
หินอะไร สภาพความลาดชันและความคงทนของพื้นที่มีภูมิประเทศอย่างไร โดยสามารถสร้างเป็น 3 มิติได้
การวิเคราะห์ขั้นสูงจ าแนกข้อมูลเป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง และเวลาและสถานการณ์
ที่เปลี่ยนแปลง เมื่อน ามาผสมผสานกันท าให้สามารถท านายสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น
การวิเคราะห์สถานการณ์น้ าท่วม การจราจร และโรคระบาด เป็นต้น
- บุคลากร ระบบงานสารสนเทศภูมิศาสตร์มีบุคลากรที่แบ่งหน้าที่
ความรับผิดชอบต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงได้ผลลัพธ์ออกมา บุคลากรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ
คือ กลุ่มผู้สร้างข้อมูล และกลุ่มผู้ใช้ข้อมูล กลุ่มผู้สร้างข้อมูลเป็นผู้มีหน้าที่จัดท า รวบรวมข้อมูล น าเข้า
ข้อมูล จัดเก็บข้อมูล และแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันที่สุด ส าหรับการวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ
โดยมีนักออกแบบระบบฐานข้อมูลท าหน้าที่ออกแบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้ระบบท างานได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ และมีนักพัฒนาโปรแกรมเป็นผู้สร้างรูปแบบการท างาน เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้ข้อมูลที่มี
ความช านาญงานแต่ละประเภท ได้น าข้อมูลที่กลุ่มผู้สร้างข้อมูลท าไว้นั้นไปวิเคราะห์และสร้างแผนที่
ในรูปแบบต่าง ๆ กลุ่มผู้สร้างข้อมูลอาจไม่มีความช านาญ ในการสร้างข้อมูลใหม่ แต่กลุ่มผู้ใช้สามารถ