Page 37 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 37

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               30







                            3.1.3 การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
                                  ภายหลังการจัดท าแผนที่สภาพการใช้ที่ดินในระบบเชิงเลข ในช่วง พ.ศ. 2545-2552
                       กลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินได้ท าการติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในระดับจังหวัด โดยมี
                       วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้ที่ดินในแต่ละช่วงเวลา พร้อมทั้งจัดท าแผนที่และรายงาน

                       การเปลี่ยนแปลงระดับจังหวัด จุฬาลักษณ์ (2555) กล่าวไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสิ่งปก
                       คลุมดิน หมายถึง การเปลี่ยนจากการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินประเภทหนึ่งไปเป็นอีกประเภทหนึ่ง
                       ตามความต้องการของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของจ านวนประชากร ท าให้มีความต้องการใช้ที่ดิน
                       และสิ่งปกคลุมดิน เพื่อน าไปใช้ประโยชน์หรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น เช่น การบุกรุกและ

                       ปรับเปลี่ยน พื้นที่ป่าไม้ไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและ
                       สิ่งปกคลุมดิน ยังมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางกายภาพด้านต่าง ๆ เช่น ความสูงภูมิประเทศ
                       ความลาดชัน ระยะห่างจากทางน้ า เป็นต้น ในขณะที่ สไบทอง (2556) กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงการ
                       ใช้ที่ดินในชนบท โดยจ าแนกการเปลี่ยนแปลงออกเป็น ดังนี้

                                  1)  การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินอย่างเข้มข้น คือ การน าที่ดินในชนบทมาพัฒนา
                       เป็นเมือง เป็นแหล่งอุตสาหกรรม การสร้างสนามบินและถนน และการสร้างอ่างเก็บน้ า
                                  2)    การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่มีอาณาเขตกว้างขวาง คือ การน าที่ดินในชนบท

                       มาใช้เพื่อเป็นพื้นที่ป่า อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
                                  3)    การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินพื้นที่เกษตรกรรมเป็นการใช้ที่ดินเพื่อการขนส่ง ใช้เป็น
                       พื้นที่ส าหรับพักผ่อนหรือสถานที่ออกก าลังกาย ที่อยู่อาศัย ที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ
                                  และสรุปไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน หมายถึง การน าที่ดินนั้น ๆ ไปใช้
                       ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสามารถน ามาเปรียบเทียบ

                       กันได้ ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
                                  จากข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน คือ การที่มนุษย์เปลี่ยน
                       กิจกรรมในการแสวงหา ก าหนด หรือท าประโยชน์จากที่ดิน เพื่อสนองความต้องการในการด ารงชีวิต

                       ของมนุษย์ไปจากเดิม ซึ่งการเปลี่ยนกิจกรรมในแต่ละช่วงปี สามารถน ามาเปรียบเทียบกันได้ว่า
                       มีกิจกรรมใดบ้างที่ต่างไปจากเดิม และท าให้ทราบว่าอะไรเปลี่ยนไปเป็นอะไร จ านวนที่เปลี่ยนไป
                       เป็นเท่าไร เปลี่ยนแปลงอย่างไร พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ใด โดยพบว่ามีการศึกษาการเปลี่ยนแปลง
                       การใช้ที่ดินในหลายจังหวัด เช่น การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจังหวัดบึงกาฬ ระหว่าง พ.ศ. 2553

                       และ พ.ศ. 2558 พบว่า พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2553 จ านวน 2,062 ไร่ หรือ
                       ร้อยละ 1.84 ของเนื้อที่เดิม มีสาเหตุมาจากจ านวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ชุมชนและ
                       สิ่งปลูกสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานที่ราชการปลูกสร้างและขยายตัวขึ้นใหม่หลายแห่ง
                       พื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2553 รวม  46,894 ไร่ หรือร้อยละ 2.27 ของเนื้อที่เดิม

                       โดยพบว่าพื้นที่ปลูกยางพารา มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาเป็นปาล์มน้ ามัน และมันส าปะหลัง
                       ตามล าดับ พื้นที่ป่าไม้ มีเนื้อที่ลดลง จาก พ.ศ. 2553 จ านวน 5,465 ไร่ หรือร้อยละ 3.25 ของเนื้อที่เดิม
                       พื้นที่น้ าเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2553 จ านวน 465 ไร่ หรือร้อยละ 0.31ของเนื้อที่เดิม และพื้นที่เบ็ดเตล็ด
                       ลดลงจาก พ.ศ. 2553 จ านวน 43,947 ไร่ หรือร้อยละ 22.10 ของเนื้อที่เดิม (ศศิรินทร์, 2558)

                       ในขณะที่จังหวัดชัยภูมิ ระหว่าง พ.ศ. 2549 และพ.ศ. 2554 มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชุมชนและ
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42