Page 39 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 39
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
32
แม่เหล็กไฟฟ้าของวัตถุแต่ละชนิด ซึ่งมีความแตกต่างของรายละเอียดข้อมูล เช่น สี ความเข้มของ
ข้อมูล ความหยาบละเอียด รูปร่างหรือรูปทรง ขนาด รูปแบบ ความสัมพันธ์กับต าแหน่ง และที่ตั้งที่
แตกต่างกัน (จุฬาลักษณ์, 2555) โดยมีองค์ประกอบดังนี้ (ฉัตรชัย, 2553)
(1) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves) เป็นสื่อระหว่างเครื่องมือ
บันทึกข้อมูลและวัตถุที่ท าการส ารวจ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นรูปแบบหนึ่งของการถ่ายเทพลังงานจาก
แหล่งที่มีพลังงานสูงแผ่รังสีออกไปรอบ ๆ เนื่องจากวัตถุต่าง ๆ มีคุณสมบัติการสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ในช่วงคลื่นต่าง ๆ แตกต่างกัน จึงสามารถใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการส ารวจจากระยะไกล วัดค่า
ความเข้มของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สะท้อนจากวัตถุ แล้วท าการจ าแนกประเภทของวัตถุด้วยสายตา
หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีชนิดของคลื่นแสง ความยาวของคลื่นแสง และค่าการสะท้อนพลังงาน
(ภาพที่ 5) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจ าแนกประเภทได้ดังนี้
- รังสีแกมมา (γ –ray) มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 0.01 นาโนเมตร
และรังสีเอกซ์ (X-ray) มีความยาวคลื่น 0.01-10 นาโนเมตร เป็นช่วงที่มีพลังงานสูง แผ่รังสีจากปฏิกิริยา
นิวเคลียร์หรือจากสารกัมมันตรังสี
- รังสีอัลตร้าไวโอเลต (Ultraviolet-uv) หรือแสงเหนือม่วง มีความยาว
คลื่น 10-400 นาโนเมตร เป็นช่วงคลื่นที่มีพลังงานสูง เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
- คลื่นแสง (Visible light) มีความยาวคลื่น 400-700 นาโนเมตร
9
(1 เมตร=10 หรือ 100 ล้านนาโนเมตร) หรือ 0.4-0.7 ไมโครเมตร เป็นช่วงคลื่นที่ตามนุษย์รับรู้ได้
ประกอบด้วย แสงสีม่วงจนถึงแสงที่แดง เป็นแหล่งพลังงานของโลก และช่วยในการสังเคราะห์แสงของพืช
- อินฟราเรด (Infrared) หรือแสงใต้แดง มีความยาวคลื่น 700 นาโน
เมตรถึง 1 มิลลิเมตร หรือ 0.7-100 ไมโครเมตร เป็นช่วงคลื่นที่มีพลังงานต่ าสายตามนุษย์มองไม่เห็น
จ าแนกเป็นอินฟราเรดคลื่นสั้น และอินฟราเรดคลื่นความร้อน
- คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) มีความยาวคลื่น 1 มิลลิเมตร ถึง 10
เซนติเมตร เป็นคลื่นความถี่วิทยุชนิดหนึ่ง ใช้ประโยชน์ในด้านโทรคมนาคมระยะไกล และสร้างพลังงาน
ในเตาอบอาหาร
- คลื่นวิทยุ (Radio wave) เป็นช่วงคลื่นที่มีความยาวคลื่นมากที่สุด
โดยมีความยาวคลื่นมากกว่า 10 เซนติเมตร จนถึงมากกว่า 100 กิโลเมตร สามารถเดินทางผ่านชั้น
บรรยากาศได้ จึงถูกน ามาใช้ประโยชน์ด้านการสื่อสารโทรคมนาคม
- ช่วงคลื่นแสงสีเขียว (0.53-0.60 ไมโครเมตร) เป็นช่วงคลื่นที่อยู่
ระหว่างช่วงคลื่นสีน้ าเงินและแสงสีแดง ซึ่งในพืชพรรณที่มีสีเขียวจะมีค่าการสะท้อนแสงสูงกว่าในช่วง
คลื่นสีน้ าเงินและช่วงคลื่นสีแดง เนื่องจากในช่วงคลื่นทั้งสองนั้น จะถูกคลอโรฟิลล์ในใบพืชดูดซับ
พลังงาน ดังนั้นในช่วงคลื่นแสงสีเขียวจึงเป็นช่วงคลื่นที่สามารถใช้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของพืช
พรรณได้เป็นอย่างดี ช่วงคลื่นสีแดง (0.62.-0.69 ไมโครเมตร) สามารถใช้ในการจ าแนกขอบเขตของ
ชนิดดินและใช้ในด้านธรณีวิทยา ส าหรับช่วงคลื่นที่มากกว่า 0.69 ไมโครเมตร จะเป็นช่วงคลื่นที่
เริ่มต้นค่าสะท้อนแสงของพืชพรรณ ส่วนในช่วงคลื่นแสงอินฟราเรดใกล้ (0.77-0.90 ไมโครเมตร)
ในช่วงคลื่นที่มากกว่า 0.75 ไมโครเมตร เป็นช่วงคลื่นที่ตอบสนองต่อมวลชีวภาพของพืชได้เป็นอย่างดี
สามารถน าไปใช้ในการวิเคราะห์พืช ตรวจสอบบริเวณที่เป็นพื้นดินหรือพืชไร่ และแหล่งน้ าได้ในการ