Page 35 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 35
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
28
1) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (Urban and Built-up land) ใช้สัญลักษณ์ U
โดยมีสภาพการใช้ที่ดินระดับ 2 หรือหน่วยรอง 7 ประเภท ได้แก่ ตัวเมืองและย่านการค้า (U1)
หมู่บ้าน (U2) สถานที่ราชการและสถาบันต่าง ๆ (U3) สถานีคมนาคม (U4) พื้นที่อุตสาหกรรม (U5)
สิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ (U6) และสนามกอล์ฟ (U7) ส่วนประเภทการใช้ที่ดินระดับ 3 หรือหน่วยย่อยจะ
จ าแนกถึงชนิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
2) พื้นที่เกษตรกรรม (Agricultural land) ใช้สัญลักษณ์ A โดยมีประเภทการใช้ที่ดิน
ระดับ 2 หรือหน่วยรอง 10 ประเภท ได้แก่ พื้นที่นา (A1) พืชไร่ (A2) ไม้ยืนต้น (A3) ไม้ผล (A4)
พืชสวน (A5) ไร่หมุนเวียน (A6) ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ (A7) พืชน้ า (A8) สถานที่
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ า (A9) และเกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม (A0) ส่วนประเภทการใช้ที่ดินระดับ 3
หรือหน่วยย่อยจะจ าแนกถึงชนิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
3) พื้นที่ป่าไม้ (Forest land) ใช้สัญลักษณ์ F โดยมีประเภทการใช้ที่ดินระดับ 2
หรือหน่วยรอง 7 ประเภท ได้แก่ ป่าไม่ผลัดใบ (F1) ป่าผลัดใบ (F2) ป่าชายเลน (F3) ป่าพรุ (F4)
ป่าปลูก (F5) วนเกษตร (F6) และป่าชายหาด (F7) ส่วนประเภทการใช้ที่ดินระดับ 3 หรือหน่วยย่อย
จ าแนกถึงชนิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
4) พื้นที่น้ า (Water body) ใช้สัญลักษณ์ W โดยมีประเภทการใช้ที่ดินระดับ 2 หรือ
หน่วยรอง 2 ประเภท ได้แก่ แหล่งน้ าธรรมชาติ (W1) แหล่งน้ าที่สร้างขึ้น (W2) ส่วนประเภทการใช้ที่ดิน
ระดับ 3 หรือหน่วยย่อยจะจ าแนกถึงชนิดการใช้ประโยชน์
5) พื้นที่เบ็ดเตล็ด (Miscelleneous land) ใช้สัญลักษณ์ M โดยมีประเภทการใช้ที่ดิน
ระดับ 2 หรือหน่วยรอง 7 ประเภท ได้แก่ ทุ่งหญ้าและไม้ละเมาะ (M1) พื้นที่ลุ่ม (M2) เหมืองแร่ บ่อขุด
(M3) พื้นที่เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ (M4) นาเกลือ (M5) หาดทราย (M6) ที่ทิ้งขยะ (M7) ส่วนประเภทการใช้ที่ดิน
ระดับ 3 หรือหน่วยย่อยจะจ าแนกถึงชนิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตาเพื่อจ าแนกประเภทการใช้ที่ดินเบื้องต้นแล้ว จะน าข้อมูล
ลายเส้นหรือดิจิไทซ์ (Digitize) ที่ได้ ผลิตเป็นข้อมูลเชิงเลขส าหรับน าไปซ้อนทับบนข้อมูลภาพถ่าย
ดาวเทียม แล้วจึงพิมพ์แผนที่ออกมาเพื่อใช้ในการออกตรวจสอบข้อมูลภาคสนาม ด าเนินการแก้ไขข้อมูล
การใช้ที่ดินให้ถูกต้อง แล้วจึงจัดท าแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน และศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตา ถูกน ามาประยุกต์ใช้ในงานด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินหลายด้าน เช่น
การติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อก าหนดทิศทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจและการ
วางแผนการใช้ที่ดิน การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อหาความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ การตีความภาพถ่ายทางอากาศเพื่อพิสูจน์ร่องรอยการใช้ที่ดินตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เพื่อใช้ในการพิจารณาจ่ายค่าชดเชยที่ดินให้แก่ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการ
พัฒนาต่าง ๆ ของรัฐ เป็นต้น (สุเทพ, 2546) และ ( แสงชม, 2552)
ส าหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลข เป็นกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเลข
และใช้หลักการทางสถิติในการจ าแนกข้อมูลด้วยซอฟแวร์ การจัดการภาพส าหรับการส ารวจระยะไกล
เช่น PCI-Geomatica ERDAS-Imagine และ ENVI เป็นต้น ซึ่งวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น
การจ าแนกข้อมูลแบบควบคุม (Supervised classification) เป็นการก าหนดพื้นที่ตัวอย่าง (Training areas)
เพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มข้อมูลแต่ละประเภท และใช้ค่าทางสถิติของพื้นที่ตัวอย่าง นั้น ๆ เช่น ค่าเฉลี่ย