Page 32 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 32
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
25
นอกจากแม่น้ าที่กล่าวมาแล้ว ยังมีแหล่งน้ าผิวดินที่มีลักษณะเป็นหนอง บึง จ านวน
134 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ในฤดูฝนเฉลี่ยประมาณ 19.14 ตารางกิโลเมตร หรือ 11,962 ไร่ บึงส่วนใหญ่
มีลักษณะตื้นเขิน มีความลึกเฉลี่ย 0.40-1.00 เมตร มีบึงที่มีน้ าขังใช้ได้ตลอดปีอยู่ประมาณ 10 แห่ง
ในเขตอ าเภอเมืองพิจิตร อ าเภอบึงนาราง และอ าเภอโพทะเล เช่น บึงสีไฟ บึงช้าง บึงคันไถ บึงทับหมัน
บึงน้อย บึงนาราง และบึงสนุ่น เป็นต้น
2) สถานการณ์น้ าของจังหวัด
(1) สถานการณ์ด้านการขาดแคลนน้ า จังหวัดพิจิตรมีพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง
เป็นประจ า จ านวน 12 อ าเภอ 69 ต าบล 667 หมู่บ้าน ลักษณะปัญหา คือ การขาดแคลนน้ าเพื่อการ
เกษตร จากสภาพน้ าในแม่น้ ายมและแม่น้ าน่านมีปริมาณน้อยในฤดูแล้ง ซึ่งมีสาเหตุหลักจากฝนขาดช่วง
(2) สถานการณ์ด้านน้ าท่วม เนื่องจากพื้นที่จังหวัดพิจิตรมีพื้นที่อยู่ในลุ่มน้ ายม
และลุ่มน้ าน่าน ดังนั้นการเกิดอุทกภัยจึงมีอิทธิพลมาจากทั้งสองลุ่มน้ า โดยสภาพปัญหาน้ าท่วมจังหวัด
พิจิตรที่ส่งผลมาจากลุ่มน้ ายม เกิดจากลุ่มน้ ายมไม่มีแหล่งเก็บกักน้ าขนาดใหญ่ เพื่อควบคุมปริมาณน้ า
หลากในพื้นที่ลุ่มน้ าตอนบน ส าหรับพื้นที่จังหวัดพิจิตรที่อยู่ในส่วนของลุ่มน้ าน่านนั้น สภาพอุทกภัย
ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากลักษณะที่ตั้งของพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ อยู่ระหว่าง
แม่น้ าน่านและแม่น้ ายม ซึ่งมีจุดบรรจบของแม่น้ าทั้งสองสายอยู่ตอนท้ายของพื้นที่ เมื่อมีปริมาณน้ า
หลากมาบรรจบกัน จึงมีผลกระทบท าให้ระดับน้ าในแม่น้ าสูงจนไหลล้นตลิ่งเข้าไปในพื้นที่ที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ า
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชลประทาน และระยะเวลาการเกิดอุทกภัยเป็นระยะเวลาที่ยาวนานจนกว่าระดับน้ า
ในแม่น้ าลดระดับลงในสภาวะปกติ จึงจะสามารถระบายน้ าในพื้นที่ชลประทานลงสู่แม่น้ าได้
2.6.3 ทรัพยากรแร่ (กรมทรัพยากรธรณี, 2550) แหล่งแร่ที่ส าคัญของจังหวัดพิจิตร ได้แก่
1) แร่ยิปซัม พบมากที่ต าบลวังงิ้วใต้ อ าเภอดงเจริญ เป็นแร่ยิปซัมที่มีคุณภาพดี แร่มี
สีขาวเนื้อหยาบ เปราะ
2) แร่ทองค า โลหะทองค าปนเงิน มีการท าเหมืองแร่ 2 แห่ง ได้แก่ เหมืองแร่ทองค า
เขาพนมพา และเหมืองแร่ทองค า-เงินชาตรีของบริษัทอัคราไมนิ่ง จ ากัด โดยมีรายละเอียดของเหมือง
แร่ทองค า พอสังเขปดังนี้
(1) เหมืองแร่ทองค าเขาพนมพา ครอบคลุมบริเวณเขาพนมพาและที่ลาดเชิงเขา
ทางด้านตะวันออก ตั้งอยู่ในเขตต าบลหนองลากค้อน อ าเภอวังทรายพูน โดยมีองค์การบริหารส่วน
จังหวัดพิจิตร ด าเนินการท าเหมืองแร่ทองค า โดยน าสินแร่หรือวัสดุแร่ซึ่งเป็นหินและดินที่บดแล้วขน
จากเขาพนมพามายังสถานที่แต่งแร่ขายให้กับชาวบ้าน หลังจากนั้นชาวบ้านจะน ามาบดให้ละเอียด
อีกครั้ง และน าไปร่อนเพื่อแยกแร่ทองค าออกมาขายให้ผู้รับซื้อซึ่งมาตั้งโต๊ะรับซื้อในสถานที่แต่งแร่
(2) เหมืองแร่ทองค า-เงินชาตรีของบริษัทอัคราไมนิ่ง จ ากัด พบบริเวณรอยต่อ
ของจังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์-พิษณุโลก เขตอ าเภอทับคล้อ-วังโป่ง-เนินมะปราง เป็นการท าเหมืองแร่
แบบเปิด ขุดดินและหินเป็นบ่อเหมืองลึกลงไปจากผิวดินบริเวณที่เป็นสายแร่ โดยต้องเปิดกว้างกว่า
ตัวสายแร่ หินและดินที่ไม่ใช่สายแร่ก็น าไปกองรวมเอาไว้ ส่วนหินที่เป็นสายแร่จะน าไปบดละเอียดเป็น
ผงขนาดเล็กมากประมาณ 75 ไมคอน หรือ 0.075 มิลลิเมตร แล้วน าไปแช่ในสารละลายไซยาไนด์
ประมาณ 20 นาที เพื่อให้สารละลายดังกล่าวละลายทองค าออกมา ขณะเดียวกันก็จะใส่ถ่านกัมมันต์
เข้าไปดูดซับทองค าและเงินจากสารละลาย หลังจากนั้นจะน าถ่านกัมมันต์มาชะล้างทองค าและเงินอีกครั้ง