Page 28 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
21
2.4.20กลุ่มชุดดินที่ 49 มีเนื้อที่ 32,666 ไร่ หรือร้อยละ 1.15 ของเนื้อที่จังหวัด เป็นกลุ่มชุดดิน
ที่เป็นดินเหนียวตื้นถึงชั้นลูกรัง เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนแม่น้ าหรือจากการสลายตัวผุพัง
อยู่กับที่ หรือเคลื่อนย้ายมาทับถมในระยะทางไม่ไกลนักของวัตถุต้นก าเนิดดินที่มาจากวัสดุเนื้อละเอียด
หรือเนื้อค่อนข้างหยาบ วางทับอยู่บนชั้นดินเหนียวภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน สภาพพื้นที่
ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีการระบายน้ าดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ตาม
ธรรมชาติของดินต่ า บางพื้นที่มีการท าคันดินเพื่อกักเก็บน้ าส าหรับท านา มีเนื้อดินชั้นบนเป็นดินร่วน
ปนดินเหนียว สีน้ าตาลหรือสีน้ าตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดเล็กน้อย มีค่าความ
เป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-6.5 มีเนื้อดินชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียวปนลูกรังมาก
ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน สีเหลืองหรือสีน้ าตาลปนแดง อาจพบจุดประสีเล็กน้อย
ดินล่างชั้นถัดไปเป็นดินเหนียวสีเทา มีจุดประสีเหลืองและสีแดงของศิลาแลงอ่อน ภายในความลึก
100 เซนติเมตร จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
ประมาณ 5.0-6.5
กลุ่มชุดดินนี้มีศักยภาพค่อนข้างไม่เหมาะสมถึงไม่เหมาะสม ในการปลูกพืชไร่ และไม้ผล
หรือไม้ยืนต้น เนื่องจากดินตื้นถึงตื้นมาก ไม่เหมาะในการท านาเนื่องจากดินเก็บกักน้ าไม่อยู่ การชะล้าง
พังทลายของหน้าดินปานกลางถึงรุนแรง ปัญหาที่ส าคัญ ได้แก่ ดินตื้น มีการชะล้างพังทลายมาก
ดินจึงเสื่อมโทรมเร็วและขาดแคลนแหล่งน้ าในการเพาะปลูก การจัดการดินควรเน้นการอนุรักษ์ดิน
และน้ าด้วยวิธีทางพืชผสมผสานกับวิธีกล หากใช้เพื่อปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นบางชนิด ควรเตรียมหลุม
ปลูกให้กว้าง และผสมปุ๋ยอินทรีย์กับดินในหลุมปลูก การใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมแบบหนึ่ง คือ พัฒนา
เป็นทุ่งหญ้าและเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชไร่รากตื้น และไม้โตเร็วบางชนิด เช่น ยูคาลิปตัส และกระถินยักษ์
โดยด าเนินการในระบบเกษตรผสมผสาน
2.4.21กลุ่มชุดดินที่ 54 มีเนื้อที่ 599 ไร่ หรือร้อยละ 0.02 ของเนื้อที่จังหวัด พบในสภาพพื้นที่
เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดเทอยู่ระหว่าง 2-8 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ าดี
ปานกลางถึงดี เนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวตลอดหน้าตัดดิน พบก้อนปูนหรือเศษหินที่ก าลังผุพัง
สลายตัวปะปนอยู่ในดินชั้นล่าง ดินบนมีสีเทาเข้ม สีน้ าตาลเข้ม หรือสีน้ าตาลปนแดง ส่วนดินชั้นล่าง
สีน้ าตาลแดงหรือสีแดงปนเหลือง พบจุดประสีแดงและสีเหลืองในดินชั้นล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อย
ถึงด่างปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 6.5-8.0 ความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลางถึงสูง
กลุ่มชุดดินนี้มีความเหมาะสมในการปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เน้นการใช้ที่ดินในระบบ
เกษตรแบบผสมผสาน เช่น การปลูกพืชไร่-ไม้ผล-หญ้าและเลี้ยงสัตว์ หรือพืชไร่-พืชผัก ไม้ผลหรือ
ไม้ยืนต้น-หญ้าและเลี้ยงสัตว์ ส าหรับปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ การชะล้างพังทลายของหน้าดิน
ขาดแคลนน้ าเพื่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง และดินขาดธาตุอาหารพืชบางธาตุ จึงควรปรับปรุง
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามความจ าเป็น การอนุรักษ์ดินและน้ า
มีความส าคัญมาก โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งมีความลาดเทตั้งแต่ 5 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป วิธีการทางพืชที่ควร
น ามาใช้ ได้แก่ การปลูกพืชขวางความลาดเท ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกหญ้าแฝกเป็นแถบขวาง ความลาดเท
สลับกับแถบของพืชหลัก