Page 26 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               19







                                  กลุ่มชุดดินนี้มีปัญหาหลักในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ น้ าท่วมบางพื้นที่ในบางปีความ
                       อุดมสมบูรณ์ของดินต่ าถึงสูง จึงจ าเป็นต้องใช้ปุ๋ย เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ท าให้ความสามารถในการ
                       อุ้มน้ าของดินต่ าและดูดซับธาตุอาหารพวกแคตไอออนได้น้อย การจัดการดินควรเน้นการป้องกันน้ าท่วม
                       โดยการท าพนังกั้นน้ าและจัดระบบระบายน้ าออกจากพื้นที่เพาะปลูก ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพด้วย

                       ปุ๋ยอินทรีย์  และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการเสริมด้วยปุ๋ยเคมี ตลอดจนใช้วัสดุคลุมดินหรือ
                       ปลูกพืชคลุมดิน เพื่ออนุรักษ์ดินและรักษาความชื้นในดิน
                            2.4.16กลุ่มชุดดินที่ 40 มีเนื้อที่ 3,707 ไร่ หรือร้อยละ 0.13 ของเนื้อที่จังหวัด เป็นกลุ่มชุดดิน
                       ที่เป็นดินร่วนหยาบลึกมาก เกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ า หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่

                       หรือเคลื่อนย้ายมาทับถมของพวกวัสดุเนื้อหยาบ มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นจนถึงเนินเขา เป็นดินลึกมาก
                       มีการระบายน้ าดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า บางพื้นที่อาจพบลูกรังมาก ในช่วง
                       ความลึก 100-150 เซนติเมตร จากผิวดิน หรือมีคันดินกักเก็บน้ าส าหรับท านา มีเนื้อดินชั้นบนเป็นดิน
                       ร่วนปนทราย สีน้ าตาล สีเหลืองหรือสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดจัดมาก มีค่าความเป็น

                       กรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.5 มีเนื้อดินชั้นล่างเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ าตาลสีเหลืองหรือสีแดง
                       ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดจัดมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.5 อาจพบจุดประสี
                       ภายในความลึก 150 เซนติเมตร จากผิวดิน ดินล่างชั้นถัดไปอาจพบดินร่วนเหนียวปนทราย

                                  กลุ่มชุดดินนี้มีปัญหาหลักในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเพาะปลูก 4 ประการ คือ
                       ดินอุ้มน้ าได้น้อย ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า การชะล้างพังทลายของหน้าดินสูง และขาดแคลนน้ า
                       ในการเพาะปลูก การใช้ประโยชน์กลุ่มชุดดินนี้ ควรเน้นระบบเกษตรผสมผสาน  คือ  มีการเลี้ยงสัตว์
                       ควบคู่กับการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์และปลูกไม้โตเร็ว ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่พัฒนาขึ้นควรปลูกหญ้าผสมพืช
                       ตระกูลถั่ว เพื่อเพิ่มคุณค่าอาหารสัตว์

                            2.4.17กลุ่มชุดดินที่ 46 มีเนื้อที่ 13,016 ไร่ หรือร้อยละ 0.46 ของเนื้อที่จังหวัด เป็นดินตื้นถึง
                       ตื้นมาก มีชั้นกรวดลูกรังภายในความลึก 50 เซนติเมตร จากผิวดินบน พบบริเวณที่เหลือค้างจากการ
                       กร่อนและธารลาวา สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงที่ลาดเชิงเขา มีความลาดเทอยู่ระหว่าง 2-20

                       เปอร์เซ็นต์ เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินเหนียวปนกรวดลูกรัง สีแดงปนเหลืองถึงสีแดง การระบาย
                       น้ าดีปานกลางถึงดี ความอุดมสมบูรณ์ต่ าถึงปานกลาง
                                  กลุ่มชุดดินนี้มีศักยภาพค่อนข้างไม่เหมาะสมถึงไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่และไม้ผล
                       หรือไม้ยืนต้น เนื่องจากเป็นดินตื้นถึงตื้นมาก การชะล้างพังทลายของหน้าดินเกิดในระดับปานกลางถึง

                       รุนแรง และไม่เหมาะสมในการท านา เนื่องจากเป็นที่ดอนและเก็บกักน้ าไม่อยู่ ปัญหาการใช้ประโยชน์
                       ของดินที่ส าคัญ  คือ  ดินตื้น  การชะล้างพังทลายของหน้าดินสูง  ดินแห้งจัดในช่วงฤดูแล้ง ขาดแคลน
                       แหล่งน้ าในการเพาะปลูก และความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า การจัดการดินควรเน้นการป้องกันการ
                       ชะล้างพังทลายของดิน การอนุรักษ์ดินและน้ าอย่างถูกต้องด้วยวิธีการทางพืชเป็นอันดับแรก แล้วเสริม

                       ด้วยวิธีการเชิงกลตามความจ าเป็น กลุ่มชุดดินนี้บางส่วนเหมาะที่จะพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเพื่อการเลี้ยงสัตว์
                       ส าหรับส่วนที่เหลือควรใช้ประโยชน์แบบผสมผสาน ระบบจึงประกอบด้วยทุ่งหญ้า-พืชไร่รากตื้น-ไม้ผล
                       หรือไม้ยืนต้นบางชนิด-เลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31