Page 83 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 83

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           64



                           12) ชุดดินด่านซ้าย (Dan Sai series: Ds)
                             การจําแนกดิน : Fine-loamy, kaolinitic, hyperthermic Typic Kandiustults
                             ชุดดินด่านซ้ายเป็นดินร่วนละเอียด ลึกมาก เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมา

                  ในระยะทางไม่ไกลนักของหินตะกอนเนื้อหยาบ พวกหินทราย บางส่วนได้รับอิทธิพลจากหินทรายแป้งด้วย พบใน
                  สภาพพื้นที่มีลักษณะลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงเป็นเนินเขา ความลาดชัน 2 - 35 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําดี
                  โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา
                             ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน สีน้ําตาลเข้มหรือสีน้ําตาลปนแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็น
                  กรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.5 - 6.0) ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย สีแดงปนเหลืองถึงสีแดง

                  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5 - 5.5) บางพื้นที่มีก้อนหินทรายปะปนในหน้าตัดดินหรือ
                  อยู่บนผิวดิน

                           13) ชุดดินห้วยแถลง (Huai Thalaeng series: Ht)
                             การจําแนกดิน : Coarse-loamy, mixed, isohyperthermic Typic (Kandic) Paleustults

                             ชุดดินห้วยแถลงเป็นดินร่วนหยาบ ลึกมาก เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือตะกอนของหิน
                  ตะกอนเนื้อหยาบที่ถูกชะมาทับถมอยู่บริเวณพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน พบในสภาพพื้นที่มีลักษณะ
                  ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ความลาดชัน 0 - 12 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําดี โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา
                             เนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย สีน้ําตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึง

                  เป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5 - 6.5) ดินล่างเป็นดินร่วนปนทรายและเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายในดินล่างลึกลงไป
                  มีสีน้ําตาลหรือสีน้ําตาลปนเหลือง พบจุดประสีที่ความลึกมากกว่า 100 เซนติเมตร ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรง
                  มากถึงเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5 - 5.0)

                           14) ชุดดินกันทรวิชัย (Kantarawichai series: Ka)

                             การจําแนกดิน : Fine, mixed, active, nonacid, isohyperthermic Aeric (Plinthic) Endoaquepts
                             ชุดดินกันทรวิชัยเป็นดินเหนียว ลึก เกิดมาจากตะกอนน้ําพามาทับถมอยู่ในที่ราบน้ําท่วมถึง พบ
                  ในสภาพพื้นที่มีลักษณะราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0 - 1 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําเลว
                  โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง

                             เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอด หน้าดินมีสีเทาเข้มหรือสีน้ําตาลปนเทาเข้ม ดินล่างมีสีน้ําตาล
                  สีน้ําตาลปนเทา หรือสีเทา พบจุดประสีน้ําตาลแก่ สีน้ําตาลปนเหลือง สีน้ําตาลปนแดงหรือสีแดงปนเหลือง
                  ตลอดหน้าตัดดิน และพบศิลาแลงอ่อนประมาณ 2 - 20 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ฤดูแล้งหน้าดินจะแตกระแหง
                  กว้างและลึก พบรอยไถล และอาจพบก้อนเหล็กหรือแมงกานีสสะสมปะปนอยู่ในดินชั้นล่าง ปฏิกิริยาดินเป็น

                  กรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.5 - 6.0) ตลอดหน้าตัดดิน

                           15) ชุดดินเขมราฐ (Khemarat series: Kmr)
                             การจําแนกดิน : Fine-loamy over clayey, mixed, semiactive, isohyperthermic Plinthaquic
                  Haplustults

                             ชุดดินเขมราฐเป็นดินร่วนละเอียดทับอยู่บนดินเหนียว ลึก เป็นดินในกลุ่มดินซ้อนที่มีความไม่
                  ต่อเนื่องทางธรณี (lithological discontinuity) ที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ของหินตะกอนสองยุค
                  (ทราย/เหนียว) หรือตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบที่ถูกชะมาทับถมอยู่บนหินตะกอนเนื้อละเอียด พบใน
                  สภาพพื้นที่มีลักษณะค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1 - 5 เปอร์เซ็นต์ มีการ

                  ระบายน้ําดีปานกลางในดินบนและค่อนข้างเลวในดินล่าง โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88