Page 74 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 74

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           55



                  อายุยังไม่มาก ในช่วงฤดูฝนมักถูกน้ําท่วม พื้นที่ราบลุ่มน้ําท่วมถึงนี้ประกอบไปด้วยสันดินริมน้ํา (river levee)
                  ซึ่งอยู่ติดกับลําน้ํา และพื้นที่ลุ่มแม่น้ํา (river basin) เป็นส่วนที่ต่ําที่สุด น้ําในแม่น้ําจะไหลบ่ามาท่วมในช่วงฤดูฝน
                  พื้นที่ส่วนนี้ใช้ทํานา ปลูกพืชผักสวนครัว และพืชไร่

                                ดินที่พบในบริเวณนี้มีอายุลักษณะของชั้นดินยังเกิดให้เห็นไม่ชัดเจน แต่เป็นดินที่มีความ
                  อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเกิดจากตะกอนใหม่ (recent alluvium) และน้ําได้พัดพาเอาธาตุอาหารพืชมาทับถม
                  เกือบทุกปี ดินบริเวณนี้ไม่เหมาะสมในการนํามาใช้เป็นเส้นทางแนวถนน และที่อยู่อาศัย เนื่องจากในฤดูฝนมี
                  น้ําท่วงขัง ดินมีสภาพการคงตัวต่ํา ทําให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะดินที่มีปริมาณดินเหนียวสูง
                  มีความเหมาะสมในการใช้บ่อขุดและอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก เช่น ชุดดินกันทรวิชัย และศรีสงคราม เป็นต้น

                                2) ตะกอนตะพักลําน้ําระดับต่ํา (low alluvial terrace) จะมีระดับสูงกว่าที่ราบลุ่มน้ําท่วมถึง
                  แต่ยังมีสภาพพื้นที่ราบเรียบที่ไม่มีการทับถมของตะกอนใหม่ ยกเว้นบางปีที่มีน้ําท่วมมากอาจมีตะกอนถูกพัดพา
                  มาทับถมเป็นชั้นบางๆ ที่ผิวดินบน เป็นสภาพธรณีสัณฐานที่มีพื้นผิวคงตัว และเกิดจากการทับถมของตะกอน

                  ลําน้ําที่มีอายุมาก (old alluvium) ดังนั้น ดินที่เกิดในบริเวณนี้ถึงมีลักษณะหน้าตัดดินหรือชั้นดินเกิดขึ้นให้เห็น
                  อย่างชัดเจน และดินส่วนใหญ่มีสภาพการระบายน้ําค่อนข้างเลวถึงเลว น้ําใต้ดินอยู่ในระดับตื้น เป็นอุปสรรคใน
                  การขุดดิน ทําให้เกิดการทรุดตัวของแนวถนน ตัวอย่างเช่น ชุดดินนครพนม และท่าตูม เป็นต้น ซึ่งไม่เหมาะสม
                  ในการใช้เป็นดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน และการใช้พาหนะในช่วงฤดูฝน

                                3) ตะกอนตะพักลําน้ําระดับกลางและระดับสูง (middle and high alluvial terrace) มี
                  สภาพพื้นที่สูงขึ้นไปจากตะกอนตะพักลําน้ําระดับต่ํา และมีลักษณะเป็นลูกคลื่นไม่ราบเรียบ ในพื้นที่ส่วนนี้อาจ
                  แบ่งเป็น 2 ส่วน ตามระดับความสูงและลักษณะของดิน คือ ตะพักลําน้ําระดับกลาง (middle terrace) จะพบ
                  ถัดขึ้นไปจากตะพักลําน้ําระดับต่ํา ดินส่วนใหญ่มีสีน้ําตาล สีเหลือง และสีน้ําตาลปนเหลือง ส่วนที่สูงขึ้นไปอีกจะ

                  เป็นตะพักลําน้ําระดับสูง (high terrace) ดินมีลักษณะเป็นสีแดง การระบายน้ําดี แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ที่เป็น
                  ตะพักลําน้ําระดับกลางและระดับสูงนี้ เกิดจากตะกอนที่น้ําพัดพามาเป็นเวลานานแล้ว ดังนั้น ดินที่พบใน
                  บริเวณพื้นที่ส่วนนี้จึงเป็นดินที่มีหน้าตัดของดินเกิดขึ้นให้เห็นอย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน ดินที่พบในบริเวณนี้
                  เหมาะสมในการใช้เป็นเส้นทางแนวถนน ทําระบบบ่อเกรอะ เนื่องจากมีระดับน้ําใต้ดินอยู่ลึก ไม่ท่วงขังในฤดูฝน

                  และมีการดูดซึมสิ่งขับถ่ายจากบ่อเกรอะลงสู่ดินอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ชุดดินธาตุพนม และชุมพวง เป็นต้น
                             3.2.2 สภาพพื้นที่ที่เหลือตกค้างจากการกัดกร่อนของหิน (erosion surface remnant) เป็นสภาพ
                  ทางธรณีสัณฐานที่เกิดจากกระบวนการปรับระดับพื้นที่ (degradation process) หินส่วนที่อ่อนหรือผุได้ถูก

                  กัดกร่อนออกไป มีลักษณะเป็นลูกคลื่น และพบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป สภาพพื้นที่อย่างนี้จะพบหินอยู่ในระดับตื้น
                  ส่วนชั้นดินตอนบนที่ไม่หนานักอาจเกิดจากการสลายตัวของหินพื้นล่างมาเป็นดิน หรือถ้าเป็นบริเวณที่ราบเชิงเขา
                  อาจได้มาจากการเคลื่อนย้ายของตะกอนจากบริเวณภูเขาใกล้เคียงที่ถูกเคลื่อนย้ายมาโดยแรงโน้มถ่วงของโลก
                  (colluviated materials) แล้วมาสะสมอยู่ตอนบนของหน้าตัดดิน
                             ดินที่พบในสภาพธรณีสัณฐานที่กล่าวนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นดินตื้นถึงลึกปานกลาง ลักษณะของดิน

                  ขึ้นอยู่กับหินที่เป็นวัตถุต้นกําเนิด เช่น หินทรายจะทําให้ดินเนื้อหยาบ หรือค่อนไปทางดินร่วนปนทราย เป็นต้น
                  ส่วนหินเนื้อละเอียด เช่น หินดินดาน หินปูน หินทรายแป้ง จะให้ดินเนื้อละเอียด และมักมีสีแดงหรือสีแดงปน
                  เหลือง การใช้ประโยชน์ของดินส่วนใหญ่ใช้ปลูกพืชไร่ และยังคงสภาพเป็นป่าธรรมชาติอยู่ ดินบริเวณนี้

                  เหมาะสมในการใช้เป็นเส้นทางแนวถนน เนื่องจากไม่เสี่ยงต่อน้ําท่วมขังในฤดูฝน มีความลาดชันไม่เกิน 12
                  เปอร์เซ็นต์ ไม่พบชั้นหินพื้น รวมทั้งไม่มีก้อนหินและหินพื้นโผล่
                             3.2.3 สภาพธรณีสัณฐานที่เป็นเทือกเขา (mountain ranges) ได้แก่ พื้นที่บริเวณเทือกเขาเพชรบูรณ์
                  เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาสันกําแพง เทือกเขาพนมดงรัก และเทือกเขาภูพาน
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79