Page 70 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 70

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           51



                        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
                             ทิศเหนือ       ติดต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                             ทิศตะวันออก  ติดต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

                             ทิศตะวันตก     ติดต่อจังหวัดนครนายก สระบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก
                             ทิศใต้         ติดต่อจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว และราชอาณาจักรกัมพูชา

                  2. สภาพภูมิประเทศ

                        ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นที่ราบเรียบ และบางแห่งเป็นลูกคลื่นลอนลาด

                  ที่มีความต่างระดับโดยเฉลี่ยของพื้นที่น้อย มีความสูงประมาณ 130 - 250 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง ภาค
                  ตะวันออกเฉียงเหนือจึงยังไม่เป็นที่ราบสูงอย่างที่เคยเข้าใจ เนื่องจากเกณฑ์ที่กําหนดไว้ของที่ราบสูงจะต้องมี
                  ความสูงของพื้นที่ราบตั้งแต่ 300 เมตรจากระดับทะเลปานกลางขึ้นไป (ประเทือง, 2528; สํานักงานพัฒนา
                  เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ, 2546) ดังนั้น ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่

                  เป็นพื้นที่เกือบราบ (peneplain)

                        พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการยกตัวเป็นแนวสันแคบๆ ของเทือกเขาล้อมเป็นกรอบด้านตะวันตก
                  และด้านใต้ของภาค โดยมีเทือกเขาที่สําคัญ (กรมทรัพยากรธรณี, 2550; จุมพล, 2551) ได้แก่
                           1) เทือกเขาเพชรบูรณ์ เป็นเทือกเขาที่อยู่ทางตอนบนด้านทิศตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                  ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ กั้นเขตแดนจังหวัดชัยภูมิกับจังหวัดเลย และบางตอนเป็นแนวกั้นระหว่างภาคเหนือ

                  และภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมียอดเขาภูหลวง อยู่ในเขตจังหวัดเลย เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด
                  ในภาค มีความสูงประมาณ 1,571 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง ส่วนยอดภูกระดึง สูงประมาณ 1,316 เมตร
                  จากระดับทะเลปานกลาง

                           2) เทือกเขาดงพญาเย็น เป็นเทือกเขาที่อยู่ทางตอนล่างด้านทิศตะวันตก กั้นระหว่างภาคกลางกับ
                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งต่อกับเทือกเขาเพชรบูรณ์ ส่วนทางใต้จะติดต่อกับเทือกเขาพนมดงรัก
                           3) เทือกเขาสันกําแพง เป็นเทือกเขาที่อยู่ทางด้านใต้ของที่ราบสูงโคราชโดยทอดตัวในแนวตะวันตก
                  ถึงตะวันออก และกั้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคกลางโดยมียอดเขาสูงที่สุดในเทือกเขานี้ คือ เขาแหลม

                  ซึ่งมีความสูงประมาณ 1,368 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง
                           4) เทือกเขาพนมดงรัก เป็นเทือกเขาที่อยู่ทางใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทอดตัวในแนว
                  ตะวันตก-ตะวันออก เป็นเทือกเขาที่กั้นระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคตะวันออก และกั้นเขตแดน
                  ระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยมียอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขานี้คือ ยอดเขาภูโคกใหญ่ ซึ่งมีความสูงประมาณ 753 เมตร

                  อยู่ในเขตอําเภอน้ํายืน จังหวัดอุบลราชธานี
                           5) เทือกเขาภูพาน เป็นเทือกเขาบริเวณตอนกลางของภาค ทอดตัวในแนวตะวันออกเฉียงใต้ถึง
                  ตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นเทือกเขาที่ยาวมากที่สุดในภาค คือเริ่มจากชายแดนไทยที่อําเภอพิบูลมังสาหาร ผ่าน
                  อําเภอโขงเจียม อําเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ขึ้นไปจังหวัดมุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร อุดรธานี

                  ขอนแก่น จนถึงภูเขาบริเวณเขื่อนอุบลรัตน์ในจังหวัดขอนแก่น มีความสูงประมาณ 500 - 700 เมตรจากระดับ
                  ทะเลปานกลาง เทือกเขาภูพาน เป็นแนวแบ่งเขตพื้นที่ของภาคออกเป็นแอ่งคล้ายกระทะ 2 แอ่ง ได้แก่
                  แอ่งสกลนคร ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของภาค บริเวณตั้งแต่ชายขอบเทือกเขาภูพานขึ้นไปทางเหนือจรดริมฝั่ง

                  แม่น้ําโขง ในจังหวัดหนองคาย โดยทอดเป็นแนวตั้งแต่ภูกระดึงทางตะวันตกไปจรดฝั่งแม่น้ําโขงในจังหวัด
                  นครพนม ทางตอนใต้ของแอ่งด้านของเทือกเขาภูพานจะมีระดับสูงกว่าและลาดเอียงไปทางเหนือและทาง
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75